DSpace Repository

ผลการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความไว้วางใจในคู่สามี-ภรรยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดลดาว ปูรณานนท์
dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.author วรัญญา คงปรีชา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:33Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:33Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7142
dc.description งานนิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษาทฤษฏีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความไว้วางใจในคู่สามี-ภรรยา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นสามี-ภรรยาที่อาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มีคะแนนเฉลี่ยจากแบบวัดความไว้วางใจระหว่างคู่สามี-ภรรยาน้อยที่สุดขึ้นไปและสมัครใจ เข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คู่ มาเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คู่ และ กลุ่มควบคุม 10 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความไว้วางใจระหว่างคู่สามี-ภรรยา และโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ผู้วิจัยดำเนินการทดลองการให้ การปรึกษา จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที ดำเนินการทดลองสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดสอบแบบสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะ ติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของนิวแมน-คูลส์ ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลอง กับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามี-ภรรยาในกลุ่มทดลอง มีคะแนนความไว้วางใจระหว่างกัน สูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสามี-ภรรยาในกลุ่มทดลองมีคะแนนความไว้วางใจระหว่างกันในระยะหลัง การทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject สามีและภรรยา -- การให้คำปรึกษา
dc.subject ความไว้วางใจ
dc.title ผลการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความไว้วางใจในคู่สามี-ภรรยา
dc.title.alternative The effects of solution-focused brief therpy on couple trust
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research aimed to study the effects of solution-focused brief therapy on couple trust who live in Chachoengsao province. The sample comprised of 20 couples who had average point of couple trust at low score and volunteered to participated in the study. The simple random sampling method was adopted to assign sample into two groups equally: an experimental group and a control group with 10 couples each. The instruments used for collecting data were the couple trust questionnaire and the couple counseling program based on solution-focused brief therapy. The intervention was administered for 10 sessions of 45-60 minutes duration twice weekly for 8 weeks. The research design was two-factor experiment with repeated measures on one factor. The study was divided into 3 phases: the pre-test phases, the post-test phases and the follow-up phases. The data were analyzed using repeated measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and tested for pair differences among group using of Newman-Keul's Method. The results revealed that there was statistically significant interaction at .05 level between the method and the duration of the experiment. The average score of couple trust in the experimental group was higher than the control group with statistically significant different at .05 level when measured in the post-test and follow-up phases. The levels of couple trust average score in the experimental group in the post-test and follow-up phases were higher than the pre-test phase statistically significant different at .05 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account