DSpace Repository

ผลการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีเชิงกลยุทธ์ต่อสัมพันธภาพระหว่างแม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.advisor ประชา อินัง
dc.contributor.author ปฐมา สุขทวี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:33Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:33Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7141
dc.description งานนิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีเชิงกลยุทธ์ต่อสัมพันธภาพระหว่างแม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ แม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่นในจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีคุณสมบัติ คือ 1) แม่เลี้ยงเดี่ยวที่แยกทางกับสามีมาแล้ว 0-3 ปี และ 2) บุตรที่มีอายุ 13-15 ปี ที่มีผลคะแนนเฉลี่ยจากแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างมารดาและบุตรน้อยที่สุดขึ้นไปและสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คู่ สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 10 คู่ และกลุ่มควบคุม 10 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดสัมพันธภาพระหว่าง แม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่นและโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีเชิงกลยุทธ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผู้วิจัยดำเนินการทดลองให้การปรึกษาจำนวน 10 ครอบครัว ครอบครัวละ 12 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที ดำเนินการทดลองสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ โดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อน การทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี นิวแมน-คูลส์ ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่นกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสัมพันธภาพระหว่างแม่เลี้ยงเดี่ยว และบุตรวัยรุ่นสูงกว่าแม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่นกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่นกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนสัมพันธภาพระหว่างแม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่นในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
dc.subject ความสัมพันธ์ในครอบครัว
dc.subject การให้คำปรึกษาครอบครัว
dc.subject วัยรุ่น
dc.title ผลการปรึกษาครอบครัวทฤษฎีเชิงกลยุทธ์ต่อสัมพันธภาพระหว่างแม่เลี้ยงเดี่ยวและบุตรวัยรุ่น
dc.title.alternative The effects of strtegic fmily counseling theory on reltionships between single mom nd dolescent children
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research aimed to study the effect of strategic family counseling theory on relationships between single mom who had divorced for 0-3 years from Chachoengsao and their children whose age was between 13-15 years old. The sample comprised of 20 single moms and their children (40 persons) who had average point of relationships between single mom and adolescents lowest score and volunteered to participate in the study. The simple random sampling method was adopted to assign sample into two groups equally: an experimental group and a control group with 10 single moms and their children. The research materials were the relationships between single mom and adolescents questionnaire and the interventional program strategic family counseling. The intervention was administered for the 10 families for 12 sessions of 45-60 minutes, twice a week for 8weeks. The research design was two-factor experiment with repeated measures on one factor. The study was divided into 3 phases: the pre-test phases, the post-test phases and the follow-up phases. The data were analyzed by using repeated measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and tested of pair differences, using Newman-Keul's Method. The results revealed that there was statistically significant interaction at .05 level between the method and the duration of the experiment. The average score of relationships between single mom and their children in the experimental were higher than the control groups with statistically significant difference at .05 level when measured in the post-test and follow-up phases. The levels of relationships between single mom and their children, the mean score in the experimental group in the post-test and follow-up phases were higher than the pre-test phase statistically significant different at .05 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account