DSpace Repository

ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.author ธันยธรณ์ คาวาซากิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:27Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:27Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7122
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวโน้มการบริหารตามภารกิจมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้า และตรวจสอบความเหมาะสมระเบียบวิธีวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณา (Ethnographic Delphi Future Research: EDFR) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยของรัฐใน ภาคตะวันออกที่มีบทบาทในการบริหารมหาวิทยาลัย การกำหนดนโยบาย และภารกิจของมหาวิทยาลัยจำนวน 17 คน และตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออก โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 364 คน โดยคิดสัดส่วนตามขนาดของมหาวิทยาลัยตามตาราง เครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาใช้เทคนิคการสรุปสะสมค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวโน้มการบริหารตามภารกิจมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคม อาเซียนในทศวรรษหน้า มี 4 ด้าน จำนวน 60 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการผลิตบัณฑิต 18 ข้อ 2) ด้านการวิจัย 18 ข้อ 3) ด้านบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน 13 ข้อ 4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 11 ข้อ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันว่า มีความสำคัญค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ 2. การตรวจสอบทิศทางการบริหารตามภารกิจมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออก สู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ทั้ง 4 ด้าน มีความเป็นไปได้ในระดับมากสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยเรียงอันดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ตามอันดับดังนี้ 1) ด้านการวิจัยโดยการเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศในศาสตร์ (Center of excellent) ในภาคตะวันออกที่สร้างงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อพัฒนาพื้นที่ ภาคตะวันออกมากขึ้น และมีความร่วมมือด้านงานวิจัยร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียนในรูปแบบใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและนวัตกรรมใหม่รวมถึงมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้มุ่งเน้นการวิจัย 2) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเกิดเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตกับกลุ่มประเทศอาเซียนโดยมีระบบฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์เผยแพร่สื่อวัฒนธรรมที่เข้าถึงสื่อได้ง่ายและเป็นระบบทั้งในพื้นที่และต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออก มีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน 3) ด้านบริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน ระบบ การบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอาเซียน มีศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียนในภาคตะวันออกและเกิดเครือข่ายวิชาการที่แพร่หลายทั้งในประเทศและครอบคลุมอาเซียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางศึกษารวบรวมองค์ความรู้ด้านศาสตร์ต่าง ๆ โดยรวบรวมจากในประเทศและต่างประเทศ 4) ด้านการผลิตบัณฑิต มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ มีกลไก ในการคัดเลือกผู้เรียนที่ได้มาตรฐานและมีหลักสูตรเฉพาะทางตรงความต้องการของสังคมอาเซียน และการพัฒนาบัณฑิตที่มีความสามารถพิเศษเพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่ภาคตะวันออก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ -- การบริหาร
dc.subject สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
dc.title ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้า
dc.title.alternative Tendency of dministrtion of the public universites of estern thilnd towrd the sen community in the next decde
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research was to study trends of administration through mission of the public universities in the Eastern Thailand toward the ASEAN Community for the next decade. The Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) was utilized for research method. The sample was 17 experts selected from the sample group of 364 people. The data collection tool was questionnaire. The results of the research were that the tendency of the public university in the Eastern Thailand toward the ASEAN Community in the next decade comprised of 4 components, they were; 1) students teaching, 2) conducting research 3) promotion of art and culture. The experts and 4)Academic Services For the tendency evaluation validated by experts, it was found that the experts had agreed that the 4 components were highly appropriate for implementation, ranging from high to lower level of opinion as follows; 1) Research aspect being a center for excellence in the East that produce the research among universities and ASEAN country members to develop the eastern region, having cooperation on instructional development and innovation. 2) Promotion of art and culture, enabling networking for cultural and way of life exchange among the ASEAN member, having electronics data based for dissiminating culture with case of used and access. With in the ligion and the ASEAN country member. 3) Community academic services, having the efficient academic services that can link to all ASEAN countries. Having ASEAN higher education information center. 4 Student production, having student exchange activity, intra-university credit transfer system between Thai and ASEAN universities. Having mechanism in student selection, have specific program of studies those fit the need of ASEAN community and developing talent student to mobilize the Eastern Region development.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account