Abstract:
การศึกษาเรื่องแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับและเปรียบเทียบแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามเพศ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน บางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 63 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อย ๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (Homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากรเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียน บางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 เป็นแบบสอบถามประมานค่า 5 ระดับจำนวน 28 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.76-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับที่ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง จึงนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) นำเสนอผลการศึกษาตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ผลการศึกษา พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ความมั่นคงในการทำงาน และลักษณะของงานที่ปฏิบัติ 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามอายุ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นในด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าและโอกาสเติบโตในการปฏิบัติงาน ด้านนโยบายการบริหาร และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05