Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษา ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ปีการศึกษา 2559 จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง .39-.89 ค่าความเชื่อมั่น .97 และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำนวน 27 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง .27-.85 ค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01