Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและเปรียบเทียบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และขนาดโรงเรียน และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) มีค่าอำนาจจำแนก .30-.89 และค่าความเชื่อมั่น .98 และแนวทางการพัฒนา การบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์แบบทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบรายคู่โดยวิธี Scheffe’ method ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น ด้านหลักการกระจายอำนาจ อยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และขนาด โรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 หลักการกระจายอำนาจ สถานศึกษาควรให้ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่นตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน ด้านหลักการมีส่วนร่วม สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำสาระสำคัญหลักสูตรสถานศึกษากับความต้องการบริบทของโรงเรียนและท้องถิ่น ด้านหลักการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน คณะกรรมการสถานศึกษาควรมาจากตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ด้านหลักการบริหารตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูคณะกรรมการสถานศึกษาควรจัดระบบการบริหารงาน ด้านวิชาการ งบประมาณ บุคคล และบริหารทั่วไป ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล สถานศึกษาควรดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งการประกันคุณภาพในและการประกันคุณภาพ ภายนอก