DSpace Repository

การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) : กรณีศึกษา เกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author เกรียงศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์ th
dc.contributor.author อภิวัฒน์ ห่อเพชร th
dc.contributor.author อำพิกา สวัสดิ์วงศ์ th
dc.contributor.author ธีรพงษ์ ภูริปาณิก th
dc.contributor.author สุรีย์พร ปั้นเป่ง th
dc.contributor.author ศิริพร รูปเล็ก th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:03Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:03Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/704
dc.description.abstract เกาะสีชังจัดเป็นเกาะที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวหลายรูปแบบ นอกจากจะอยู่ไม่ไกลจากฝั่งของอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีแล้ว เกาะสีชังยังเป็นจุดที่เหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่ในด้านการเป็นจุดแวะพักพื่อหลบพายุของเรือขนาดใหญ่ที่กินน้ำลึก สามารถใช้ในการขนถ่ายสินค้าเพื่อลงเรือขนาดเล็ก การท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆของเกาะมีเกือบตลอดปี เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวด้านโบราณสถาน ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงามสงบเงียบ การพัฒนาเกาะสีชังให้เป็นสภานที่ท่องเที่ยวในระดับที่เป็นที่ยอมรับจากคนภายนอกหรือให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของชาวเกาะซึ่งเมื่อมีการร่วมกลุ่มกันช่วยดูแลในเรื่องต่างๆที่ตนถนัดหรือมีความสัมพันธ์กับสัมมาอาชีพของตน ก็จะเกิดการรวมตัวเป็นชมรมหรือคณะกรรมการเฉพาะกิจ ที่จะดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านการบริการนักท่องเที่ยวที่มาแวะพักผ่อน ชื่นชมกับธรรมชาติที่เกาะทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้เกิดความประทับใจและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักได้ ในการศึกษายังพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังเกาะสีชังบางส่วน ยังไม่ทราบถึงรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างครบถ้วน จึงเชื่อได้ว่าถ้ามีการประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังก็จะทำให้การท่องเที่ยวเกาะสีชังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวของตำบลได้ จากการศึกษาวิจัยได้ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาวบ้าน โดยได้มีการจัดประชุมสัมนาของชาวเกาะสีชัง ผลของการประชุมก่อให้เกิดกลุ่มกิจกรรมแบบของการมีส่วนร่วม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กลุ่มโบราณสถานและศิลปวัฒนธรรมและกลุ่มผู้ประกอบการบริการ ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ช่วยกันพัฒนากิจกรรมและกิจการท่องเที่ยว โดยได้เสนอแนะแนวทางในการจัดทำโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับลักษณะความเป็นอยู่และทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยคำนึงระบบนิเวศน์การท่องเที่ยวของเกาะสีชังเป็นสำคัญให้ยั่งยืนได้ ทั้งนี้เทศบาลหรือองค์กรของรัฐควรให้ความสนใจ ผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ ในการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวสิ่งสำคัญก็คือ ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ควรช่วยกันจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมในการพัฒนาให้เกาะสีชังเป็นที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดของภาคตะวันออกและของประเทศไทยต่อไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว - - แง่เศรษฐกิจ th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว th_TH
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ชลบุรี th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว th_TH
dc.subject เกาะสีชัง (ชลบุรี) th_TH
dc.subject โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ th_TH
dc.title การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) : กรณีศึกษา เกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Potentiality development of sustainable tourism one tambon one product : case study KaoSrichang, amphur Kaosrichang, Chonburi province en
dc.type Research
dc.year 2547


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account