Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุตัวแปรระดับบุคคลและระดับสาขาวิชา และสร้างโมเดลพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 720 คน ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 180 คน และนิสิต/นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 จำนวน 540 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 สาขาวิชา โดยใช้การสุ่มแบบ หลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ตัวแปรที่ใช้ในการทำนายระดับบุคคล คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และเจตคติต่อการเรียน ตัวแปรที่ใช้ในการทำนายระดับสาขา คือ คุณภาพการสอน และการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน ตัวแปรผลลัพธ์หรือตัวแปรผล คือ การเรียนรู้แบบนำตนเอง ซึ่งวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัว คือ การวินิจฉัยความต้องการ การเรียนรู้ การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การระบุแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นคนและวัสดุอุปกรณ์ การเลือกและปฏิบัติด้วยกลวิธีการเรียนที่เหมาะสม และการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหา และมีความเชื่อมั่นสูง สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับ การตรวจสอบ ความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม Mplus 7.00 ผลการวิจัย พบว่า 1. โมเดลการวัดพหุระดับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2 = 6.609, df = 8, p = 0.5793, CFI = 1.00, RMSEA = 0.000, X2/ df = 0.826, SRMRw = 0.003, SRMRb = 0.029 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ X2 = 243.845, df = 118, p = .000, X2/ df = 2.066, RMSEA = 0.047, CFI = 0.957, TLI = 0.941 โดยแบ่งระดับการทำนาย ดังนี้ 2.2 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับบุคคล พบว่า ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (ACH) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.687 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรเจตคติต่อการเรียน (ATL) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.236 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง (SEF) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.420 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (ACH) ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเจตคติต่อการเรียน (ATL) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.343 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง (SEF) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.611 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 47.20 2.2 ตัวแปรทำนายระดับสาขาวิชา พบว่า ได้รับอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม จากตัวแปรคุณภาพการสอน (TEQ) มีขนาดอิทธิพลตรงเท่ากับ -0.634 และมีขนาดอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.820 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรบรรยากาศในชั้นเรียน (CLC) มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.924 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และตัวแปรการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน (CLC) ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรคุณภาพการสอน (TEQ) มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.887 อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 เส้นทาง พบว่า ไม่มีตัวแปรทำนายอิทธิพลที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ