Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษา และเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การสอนของครู โดยสอบถามความคิดเห็นจากครูผู้สอนโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย ท่าแซะ 1 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 155 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ มีจำนวน 2 ข้อ และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 มีข้อคำถาม จำนวน 55 ข้อ ลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert, 1967, pp. 16-24) มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .21-.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability)ได้ค่าความเชื่อมั่น.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธีของ (Scheffe’s method) เมื่อพบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม และ ด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการเปิดเผยและเผชิญหน้า ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม และด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบการเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย ท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การสอนของครู โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการสนับสนุนและการไว้วางใจต่อกัน และด้านการพัฒนาตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05