Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาคุณภาพชีวิตของบุคลากร ทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน และหาแนวทาง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ ครู และบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนัก บริหารงานการศึกษาพิเศษ ซึ่งกำหนดขนาดโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608) ได้จำนวน 73 คน จากนั้น ดำเนินดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามตำแหน่ง เครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกของ แบบสอบถามระหว่าง .25 ถึง .91 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัญหาคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี พบว่า โดยรวมอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงจาก มากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการทำงาน รองลงมา คือ ด้านครอบครัว ด้านชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ด้านสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายด้านสุขภาพและความเครียด 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการศึกษา ของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตาม ประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านครอบครัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์รายคู่ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 คู่ ได้แก่ ประสบการณ์ การทำงาน 1-5 ปี มีปัญหาคุณภาพชีวิตน้อยกว่าประสบการณ์การทำงานมากกว่า 5 ปี ส่วนคู่อื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรทางการศึกษา ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12 จังหวัดชลบุรี 3.1 ด้านการทำงาน ได้แก่ จัดกิจกรรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมในองค์กร จัดกิจกรรม 5 ส ในสถานที่ปฏิบัติงาน จัดระบบพี่เลี้ยงและสอนงานบุคลากรใหม่ 3.2 ด้านครอบครัว ได้แก่ เชิญครอบครัวของบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กร เช่น กิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เป็นต้น การจัดสรรเวลาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถเลิกงานตรงเวลาเพื่อได้ใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น มอบรางวัลให้บุคลากรที่เป็นพ่อ/แม่ ดีเด่น 3.3 ด้านสุขภาพและความเครียด ได้แก่ ให้มีการตรวจร่างกายประจำปี จัดกิจกรรม ให้ความรู้เรื่องสุขภาพ กำหนดวันออกกำลังกายในที่ทำงาน 3.4 ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ให้สวัสดิการที่พักสำหรับบุคลากรที่อยู่ห่างไกล ให้สวัสดิการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ออกเยี่ยมบ้านบุคลากร 3.5 ด้านชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ได้แก่ จัดกิจกรรมพักผ่อน/ท่องเที่ยวนอกสถานที่ จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในองค์กร ส่งเสริม และฝึกอาชีพเสริมให้แก่บุคลากร