dc.contributor.author |
สุชาดา กรเพชรปาณี |
th |
dc.contributor.author |
พูลพงศ์ สุขสว่าง |
th |
dc.contributor.author |
วัลย์ลดา วรกานตศิริ |
th |
dc.contributor.author |
สุภลักษณ์ สีใส |
th |
dc.contributor.author |
ธัชทฤต เทียมธรรม |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:53:02Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:53:02Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/696 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยที่มีต่อชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยรวมถึงปัจจัยและเงื่อนไขการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะผู้วิจัยได้ศึกษาชุมชนที่ตั้งอยู่ในเส้นทางหลักของการล่องเรือชมหิ่งห้อยบริเวณริมคลองอัมพวาเชื่อมต่อคลองผีหลอก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ชาวบ้าน ผู้รู้เกี่ยวกับบริบทชุมชน ผู้บริหารและครูในโรงเรียน ผู้นำชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ให้บริการล่องเรือชมหิ่งห้อย ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 11 เดือน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยเป็นไปตามวงจรการมีส่วนร่วมของ Cohen and Uphoff (1980) เริ่มตั้งแต่ขั้นตอน การมีส่วนร่วมตัดสินใจ (Decision Making) โดยประชาชนได้ร้องเรียนให้ผู้นำท้องถิ่นหน่วยงานภาครัฐช่วยแก้ไขปัญหา มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาลำดับแรก คือ เสียงดังของเรือที่นำนักท่องเที่ยวมาชมหิ่งห้อย ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นได้เรียกประชุมประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบ (Implementation) ซึ่งชาวบ้านได้คิดวิธีการง่าย ๆ โดยนำไม้รวกไม้ไผ่มาปักลงในน้ำเป็นแนวล้อมบริเวณต้นลำพูที่เรือมาจอดดูหิ่งห้อยป้องกันไม่ให้เรือเข้ามาใกล้ริมตลิ่งมากเกินไป องค์การบริหารส่วนตำบลได้ทำทุ่นตามแนวริมคลองและรอบต้นลำพูช่วยลดแรงปะทะของคลื่นที่กระทบตลิ่งได้ระดับหนึ่งและลดการรบกวนหิ่งห้อยที่อาศัยบริเวณนั้น ผู้ให้บริการล่องเรือได้ร่วมมือกับเทศบาลตำบลอัมพวาในการปรับแต่งเครื่องยนต์เรือเพื่อลดระดับเสียงที่ดังรบกวนชาวบ้านและลดมลภาวะทางน้ำ กลุ่มผู้ให้บริการล่องเรือชมหิ่งห้อยไก้กำหนดมาตรการในกลุ่มเรือ โดยชี้แจงทำความเข้าใจกับคนขับเรือให้ขับเรืออย่างมีวินัย ไม่เข้าไปใกล้ต้นลำพูริมตลิ่งและให้ดับเครื่องยนต์เมื่อจอดชมหิ่งห้อย รวมถึงการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวในการชมหิ่งห้อยเชิงอนุรักษ์ ส่วนการรักษาสภาพแวดล้อมนั้น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้เพิ่มการจัดเก็บขยะและรณรงค์ให้คำแนะนำนักท่องเที่ยวในการรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะในน้ำรวมถึงการขอความร่วมมือในการควบคุมน้ำเสียจากรีสอร์ทที่นับวันจะเพิ่มขึ้น ส่วนการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยในอนาคตนั้นมุ่งเน้นไปที่เด็กนักเรียนโดยโรงเรียนหลายแห่งมีการให้ความรู้เกี่ยวกับหิ่งห้อย การรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลอง การอนุรักษ์ป่าชายเลน การส่งเสริมให้นักเรียนปลูกต้นลำพูซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของหิ่งห้อยดำเนินการร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมดำเนินการครั่งนี้ทำให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ (Benefits) ร่วมกัน คือมาตรการจำกัดเวลาล่องเรือชมหิ่งห้อยข่วยลดปัญหามลภาวะทางเสียงแก่ประชาชน ชาวบ้านบางรายได้มอบเงินบางส่วนเพื่อบำรุงรักษาต้นลำพู การให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนขับเรือของเจ้าของท่าเรือใำให้การขับเรือมีวินัยมากขึ้นดินริมตลิ่งพังน้อยลง นักท่องเที่ยวรู้วิธีการชมหิ่งห้อยที่ถูกวิธีส่งผลต่อการอนุรักษ์หิ่งห้อย ด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสร้างความพึงพอใจให้ชาวบ้านและประหยัดงบประมาณในการทำทุ่นริมตลิ่ง การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและนำชุมชนมีการติดตามสอบถามผลการแก้ไขปัญหาด้วยมาตรการต่าง ๆอย่างต่อเนื่องด้วยวาจาและในการประชุม ส่วนปัจจัยสำคัญที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบ คือการได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะชาวบ้านที่อยู่ริมน้ำและมีต้นลำพูที่มีหิ่งห้อยจำนวนมากเป็นจุดที่เรือนำนักท่องเที่ยวมาจอดชมหิ่งห้อยเป็นประจำ และปัจจัยอีกส่วนหนึ่งมาจากความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลภาวะทางน้ำที่ส่งผลต่อหิ่งห้อยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ส่วนเงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ อัตลักษณ์ฺของคนในชุมชน อันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพดั้งเดิม เช่น การทำน้ำตาลมะพร้าว การทำสวนผลไม้ ที่ต้องใช้เวลาในการทำงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เช้าจนค่ำ ที่สามารถพึ่งพาตนเองและครอบครัวของตนเองำด้ในลักษณะเป็น "หน่วยการผลิตหน่วยหนึ่ง" |
th |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย - - สมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.subject |
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - - การมีส่วนร่วมของประชาชน - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - - ผลกระทบจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
th_TH |
dc.subject |
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ - - ไทย - - สมุทรสงคราม - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
หิ่งห้อย - - ไทย - - สมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.subject |
สาขาสังคมวิทยา |
th_TH |
dc.title |
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อย : กรณีศึกษาคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.title.alternative |
Community participation in managing the impact of firefly tourism : case study of Khlong Amphawa, Samut Songkhram province |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2550 |
|
dc.description.abstractalternative |
This study uses a qualitative methodology to examine the effects of firefly tourism on communities located on the Khlong. Amphawa, in an area where tour boats go to view fireflies. It looks at community participation in managing the impact of firefly tourism with respect to the contributing factors and criteria for participation. Data were collected through participant observation and field notes, in-depth interviews, recorded informal conversation, and group discussions, Community participation in firefly tourism management involved residents, informants of the community context, school administrators and teachers, community leaders, the local tambon authority, and tour boat operators. The study found a close coherence of the local community participation with the Concentric Model of Cohen and Uphoff (1980). The process included decision-making based on the residents' complaint to the local administrative authority where problems were addressed in order of importance, primarily, the noise created by the tourist boats. The Provincial Governor met relevant groups which lead to the second process, implementation, by which residents proposed putting bamboo pole barriers along the canal bank, especially where fireflies are found near Sonneratia trees. Concerning environmental protection, the local administrative authority increased waste collection and disposal services, and tourists were infirmed about how water and noise pollution have a negative effect on the firefly population. School children in various communities were made aware of methods to control and reduce the deleterious effects of firefly tourism in the future. Local government and community leaders participated in this evaluation and concluded that a variety of problem-solving techniques and sustained effort, combined with ongoing mattings were the most important factors that contributed to community participation in managing firefly tourism. |
en |