Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาลักษณะการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูง พัฒนารูปแบบ การบริหาร และตรวจสอบระดับการยอมรับรูปแบบการบริหารครูในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออกโดยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นครูผู้มีสมรรถนะสูง สังกัดโรงเรียนเอกชนคาทอลิกในภาคตะวันออก จํานวน 385 คน และระยะที่ 2 พัฒนา รูปแบบโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 12 ท่าน และระยะที่ 3 เพื่อตรวจสอบระดับการยอมรับ รูปแบบการบริหารครูผู้มีศักยภาพสูงในศตวรรษที่ 21 สําหรับโรงเรียนเอกชนคาทอลิกในภาคตะวันออก จากกลุ่มตัวอย่างครูจํานวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสํารวจ (ระยะที่ 1) และแบบตรวจสอบระดับการยอมรับ (ระยะที่ 3) ด้านรูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงสังกัดโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (ระยะที่ 2) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าความถี่ (f) และการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาและการสังเคราะห์จากผู้วิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาลักษณะการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชนคาทอลิก ในภาคตะวันออก อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลําดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ด้านการประเมินศักยภาพ ด้านการอบรมและพัฒนา และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน การสรรหา การธํารงรักษา การวางแผน อัตรากําลัง การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ การวางแผนการสืบทอดตําแหน่ง และการคัดเลือกบุคลากร ตามลําดับ 2. ผลการพัฒนารูปแบบครูผู้มีสมรรถนะสูงสังกัดโรงเรียนเอกชน พบว่าผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มี แนวคิดว่า การบริหารค่าตอบแทน ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินมีความสําคัญต่อการรักษาผู้มีสมรรถนะสูง ลําดับต่อมาคือการธํารงรักษาบุคลากรการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างความสมดุลในชีวิต ตลอดจน ด้านการประเมินศักยภาพหรือพรสวรรค์ ความรับผิดชอบ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และการมีมนุษย์ สัมพันธ์ตามลําดับ 3. ผลการตรวจสอบระดับการยอมรับรูปแบบการบริหารครูผู้มีสมรรถนะสูงในศตวรรษที่ 21 ของ โรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลําดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ การบริหารค่าตอบแทน รองลงมาคือการธํารงรักษาบุคลากร การประเมินศักยภาพ การวางแผนการสืบทอด ตําแหน่ง การอบรมและการพัฒนา การสรรหาบุคลากร การวางแผนอัตรากําลัง การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการคัดเลือกตามลําดับ