Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเพื่อศึกษาย้อนรอยประสบการณ์ของผู้เรียนที่ใช้สร้าง ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงาน เปรียบเทียบผลการย้อนรอยประสบการณ์ของผู้เรียนตาม ระดับความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงาน และพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ประสบการณ์ผู้เรียนเพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน สาขาวิชาการออกแบบ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 และครูผู้สอนสาขาวิชาการออกแบบ ใน สถานศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การศึกษาเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลเป็น นักเรียน 27 คน ครูผู้สอน 9 คน การศึกษาเชิงปริมาณตัวอย่างเป็นนักเรียน 298 คน ครู 78 คน การ พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นครู 2 คน นักเรียน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด สถิติ ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสบการณ์ของผู้เรียนที่ใช้สร้างความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงานของนักเรียน สาขาวิชาการออกแบบ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางครอบครัว ค่านิยมทางวิชาการ ค่านิยมทางเศรษฐกิจ ค่านิยมทางปกครอง ค่านิยมทางสังคม วัฒนธรรมทางครอบครัวและวัฒนธรรมทางสังคม ผลการใช้ ประสบการณ์ของนักเรียนต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์แสดงออกในรูปแบบของเส้นตรง รูปแบบ เรขาคณิต และประโยชน์ใช้สอยอเนกประสงค์ 2.ผลการเปรียบเทียบการย้อนรอยประสบการณ์ของผู้เรียนตามระดับความคิดสร้างสรรค้ ในการพัฒนาชิ้นงาน พบว่า ประสบการณ์ที่ใช้สร้างความคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ์ผู้เรียนเพื่อสร้างความคิด สร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงานมี 6 ชุดกิจกรรม คือ 1) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 2) พัฒนา พื้นฐานความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบชิ้นงาน 3) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบ ชิ้นงาน 4) พัฒนาทักษะการออกแบบชิ้นงานสร้างสรรค์ 5) จิตอาสา และ 6) การประเมินผลรวม