Abstract:
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อกำหนดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยการวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม 3) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ เป็นนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดสระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จำนวน 620 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และกลุ่มที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกนักเรียน จำนวน 30 คน แบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด ทดลองใช้กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล เป็นแบบวัดทักษะชีวิต จำนวน 60 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานใช้โปรแกรมสำรูปทางสถิติขั้นสูง วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบของทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายพบว่า ค่าไค-กำลังสอง ( 2 ) เท่ากับ 21.60, ระดับความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .6587, ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .00 และค่าดัชนีอื่น ๆ เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดหนด แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้กระบวนการของการวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม ซึ่งได้กิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม คือ1) กิจกรรมวงดนตรี ธรรมชาติ 2) กิจกรรมข้ามเส้น 3) กิจกรรมคว้าจุดหมาย 4) กิจกรรม What do you do 5) การวิ่งเปี้ยวอารมณ์ 6) กิจกรรมไม่โกรธไม่กลัว 7) กิจกรรมสื่อสารเจ้าปัญหาและ 8) กิจกรรมปิดตาหาของ 3. ผลการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแต่ละองค์ประกอบ มีจุดเด่น ดังต่อไปนี้ 1) การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น นักเรียนมความสุขสนุกสนานในการดำเนินกิจกรรม 2) การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์นักเรียนมีความสุข สนุกกับการได้รับการพัฒนาการคิดวิเคราะห์การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) การจัดการอารมณ์และความเครียด นักเรียนสามารถแสดงอารมณ์และจัดการอารมณ์ของตนเองในกิจกรรมได้รวมทั้งสามารถเข้าใจอารมณ์และการแสดงอารมณ์ของผู้อื่นได้ถูกต้อง 4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น นักเรียนเห็นคุณค่าของการสื่อสารว่าสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น นักเรียนเห็นคุณค่าของการสื่อสารว่าสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การสื่อสารที่ดีก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในหมู่คณะทำให้งานสำเร็จ