DSpace Repository

การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา : การวิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์ ความไว และความเฉพาะเจาะจง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisor สมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.author ษมาพร ศรีอิทยาจิต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6930
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา ทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองโครงสร้างเชิงเส้น ตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์วิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์ ความไว และความเฉพาะเจาะจง ของตัวบ่งชี้ เมื่อนำไปใช้ประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษาที่ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคระห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ขั้นสูงในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความไวรายข้อใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ ความไวภาพรวม และการวิเคราะห์ความเฉพาะเจาะจงโดยใช้ตารางจัดพวกแบบ 2x2 และเปรียบเทียบผลกับเกณฑ์อัตราส่วนความเป็นไปได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา มี 5 ตัวบ่งชี้หลัก 12 ตัวบ่งชี้ย่อยและ 41 ข้อคำถาม เรียงลำดับ ตามค่าน้ำ หนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย คือ 1) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (.91) มี 2 ตัวบ่งชี้ 2) การให้ความรู้และผู้นำทางวิชาการ (.90) มี 3 ตัวบ่งชี้ 3) การส่งเสริมสนับสนุน และประสานงาน (.79) มี 3 ตัวบ่งชี้ 4) การกำกับติดตาม และประเมินผล (.63) มี 2 ตัวบ่งชี้ 5) การให้คำปรึกษา (.19) มี 3 ตัวบ่งชี้โมเดลโครงสร้างเชิงเส้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบได้ค่าไค-สแควร์ 64.33 ค่า p-value .058 ที่องศาอิสระ 48 ดังนี้ วัดความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในรูปของค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( 2 /df) 1.34 ค่า GFI .99 ค่า AGFI .95 ค่า RMSEA .029 2. ความตรงเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างคะแนนรวมรายองค์ประกอบจากการประเมินตนเองของศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษากับคะแนนรวมจากการประเมินสมรรถนะรายบุคคลของผู้ประเมิน พบว่า มีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ในด้านการให้ความรู้และผู้นำทางวิชาการ การส่งเสริมสนับ สนุนประสานงาน การกำกับติดตาม และประเมินผล และความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน 3. ความไวของตัวบ่งชี้แต่ละตัว โดยการเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะระหว่างกลุ่มศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะสูงกับกลุ่มที่มีสมรรถนะต่ำในแต่ละด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวม พบว่า มีความไวสูง (.85) และมีความเฉพาะเจาะจงสูง (.90)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ศึกษานิเทศก์
dc.subject ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
dc.subject สมรรถนะ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject สมรรถภาพในการทำงาน
dc.title การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา : การวิเคราะห์ความตรงเชิงประจักษ์ ความไว และความเฉพาะเจาะจง
dc.title.alternative The development of indictors to indicte the competency of eductionl mesurement nd evlution supervisors under the primry Eductionl Service Are : the nlysis of empiricl vlidity, sensitivity nd specifiction
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aimed to develop the competency indicators for educational measurement and evaluationsupervisors, to test the goodness of fit of the linear SEM and the empirical data, and to analyse the empirical validity, sensitivity, and specificity of the indicators. The samples of this study were 400 educational measurement and evaluation supervisors under the Primary Educational Service Area, determined by stratified sampling technique. Five-scale questionnaires were administered to those samples. Data were analysed with descriptive statistics by the statistic package program, CFA of advanced statistic package program, sensitivity by t-test, overall sensitivity and specificity analysed by using 2x2 contingency table to the likelihood ratio. The results were that; 1. The competency indicators for the educational measurement and evaluation supervisors consisted of 5 main indicators, 12 sub indicators and 41 questions. Range respectively according to the loading factors; 1) expertise with 2 sub indicators (.91), 2) instruction and academic leader with 3 sub indicators (.90), 3) supports and coordination with 3 sub indicators (.79), 4) monitoring and evaluation with 2 sub indicators (.63) and 5) counseling with 3 sub indicators (.19). The model fitted well with the empirical data ( 2 = 64.33, p = .058, df = 48,  2 /df = 1.34, GFI = .99, AGFI = .95, RMSEA = .029). 2. The empirical validity through correlation analysis of the total scores of each component and each factor, showed the significant validity in instruction and academic leader, supports and coordination, monitoring and evaluation, and expertise (p<.05). 3. The sensitivity of each indicator, by comparing competency scores between two groups of high competency and low competency score, were significantly different in each main indicators (p< .05). Overall, the sensitivity level of the indicators was high (.85), and the specificity levelof the indicators was high (.90).
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account