Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการประมาณค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) ของข้อสอบ, ค่าพารามิเตอร์ความยาก (b) ของข้อสอบ, ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ () ด้วยวิธี Maximum likelihood,วิธี Bayesian และวิธี Confirmatory factor analysis 2) เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) จำแนกตามเพศ และสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโรงเรียน ได้แก่ เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และนอกเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ด้วยวิธี IRT likelihood ratio,วิธี Bayesian และวิธี Multiple group CFA ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นคะแนนการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในรายวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาไทย ของสำนักทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2558 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling technique) จำนวน 2,400 คน จำแนกเป็นเพศชาย และเพศหญิง ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และนอกเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ข้อสอบตามโมเดลพารามิเตอร์ 2 ตัว (2PL) ได้แก่ ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกของข้อสอบ ค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบ และค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ ด้วยวิธี Maximum likelihood, วิธี Bayesian และวิธี Confirmatory factor analysis วิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ด้วยวิธี IRT-likelihood ratio,วิธี Bayesian และวิธี Multiple group CFA โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ โปรแกรม IRT PRO, โปรแกรม Open BUGS และโปรแกรม Mplus ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกของข้อสอบ ค่าพารามิเตอร์ความยาก ของข้อสอบ และค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ ( DIF) ในวิชาคณิตศาสตร์ และ ภาษาไทย ด้วยวิธี Maximum likelihood, วิธี Bayesian และวิธี Confirmatory factor analysis พบว่า ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกด้วยวิธี Maximum likelihood,วิธี Bayesian และวิธี Confirmatory factor analysis มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 การประมาณค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า วิธี Maximum likelihood และวิธี Confirmatory factor analysis มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนวิธี Bayesian มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางค่อนข้างน้อยกับวิธี Maximum likelihood และวิธี Confirmatory factor analysis ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบวิชาภาษาไทยด้วยวิธี Maximum likelihood, วิธี Bayesian และวิธี Confirmatory factor analysis มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาไทยด้วยวิธี Maximum likelihood, วิธี Bayesian และวิธี Confirmatory factor analysis พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. วิธีตรวจสอบที่พบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากที่สุด วิชาคณิตศาสตร์ จำแนก ตามเพศ คือ วิธี Bayesian รองลงมา คือ วิธี Multiple group CFA และวิธี IRT likelihood ratio ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามเขตที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโรงเรียน พบว่า วิธี Multiple group CFA พบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากที่สุด รองลงมา คือ วิธี Bayesian และวิธี IRT likelihood ratio สำหรับวิชาภาษาไทย จำแนกตามเพศ และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโรงเรียน พบว่า วิธี Bayesian พบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากที่สุด รองลงมา คือ วิธี IRT likelihood ratio ส่วนวิธี Multiple group CF ตรวจไม่พบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ