dc.contributor.advisor |
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ |
|
dc.contributor.advisor |
สมโภชน์ อเนกสุข |
|
dc.contributor.author |
ชนกพร จำนวน |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:25:01Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:25:01Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6904 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา ตามความต้องการ ของครูผู้สอนและผู้ปกครอง 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทาง การพัฒนาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างวิจัย เชิงปริมาณ ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ จำนวน 228 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 153 คน และผู้ปกครองนักเรียนปกติที่เรียนร่วมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 188 คน รวมทั้งสิ้น 569 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ จำนวน 4 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ และใช้โปรแกรม Lisrel 8.72 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ ที่สอง การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. คุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา ตามความต้องการของครูผู้สอนและผู้ปกครอง มี 5 องค์ประกอบ 54 ตัวแปรสังเกตได้ ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรม ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์และสังคม 2) องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพและอารมณ์ ตัวแปรสังเกตได้ ที่มีค่ามากที่สุด คือ มีความเข้าใจอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 3) องค์ประกอบด้านจัดการเรียนการสอน ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือ มีความตั้งใจ ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน 4) องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ ตัวแปรสังเกตได้ ที่มีค่ามากที่สุด คือ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 5) องค์ประกอบด้านความสำเร็จในการเรียนร่วม ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือ สามารถ ทำให้นักเรียนปกติไม่ดูหมิ่นหรือเยาะเย้ย นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้ 2. โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา พบว่า โมเดลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 54 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพและอารมณ์ 3) องค์ประกอบด้านจัดการเรียนการสอน 4) องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ และ 5) องค์ประกอบด้านความสำเร็จในการเรียนร่วม โดยโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบค่าไค-สแควร์ (X2) มีค่าเท่ากับ 2207.74 ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.00000 ที่องศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 1259 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X2/ df ) มีค่าเท่ากับ 1.75 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 ค่าดัชนี รากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.036 3. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา มีดังนี้ 1) สถาบันผลิตครู ควรสร้างความตระหนัก และปลูกฝังค่านิยมในการทำงานด้วยความรัก และมีความสุขกับการจัดการเรียนการสอน แบบเรียนร่วม อีกทั้งควรมีหลักสูตรด้านการศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิภาพให้กับนิสิต/ นักศึกษาครูทุกสาขา และควรส่งเสริมให้มีการผลิตครูด้านการศึกษาพิเศษโดยเฉพาะมากขึ้น 2) ด้านโรงเรียน ที่ครูผู้สอนทำการสอน ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม และให้ความเข้าใจถึงเป้าหมายของความสำเร็จของการเรียนร่วมให้กับครูทั้งโรงเรียน พร้อมทั้งสนับสนุน สร้างขวัญ กำลังใจให้กับครูที่สอนการเรียนร่วม โดยการพิจารณาภาระงานหรือขั้น หรือเงินสนับสนุน 3) ควรสร้างความตระหนักและส่งเสริมครูผู้สอนให้เกิด การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม เช่น จัดอบรมให้ความรู้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่งไปศึกษาดูงาน มีการนิเทศติดตาม ให้คำชมเชย ยกย่อง หรือรางวัลแก่ครูผู้เป็นแบบอย่างที่ดี ในด้านการสอนแบบเรียนร่วม พร้อมทั้งพัฒนาระบบการทำเอกสารแผนการสอน เอกสารการของบประมาณให้สะดวกมากขึ้น |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ครูสอนเด็กพิเศษ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.subject |
การศึกษาพิเศษ -- การศึกษาและการสอน |
|
dc.title |
การศึกษาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติระดับประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี |
|
dc.title.alternative |
A study of techer’s chrcteristics for teching the students with specil needs nd the regulr students in the sme clss of Elementry School : Chonburi Province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of the research are to study teacher’s characteristics, the students with special needs studying with the regular students in primary school regarding requirements of parents and teachers to analyze the confirmatory factor of teachers and to develop the guidelines of teacher’s characteristics. The research methodology is mixed design between quantitative research and qualitative research. The sample is divided into two groups which are 1) quantitative sample (569 persons) that consists of 288 teachers 153 parents of the students with special needs and 188 parents of regular students studying with the students with special needs and 2) qualitative sample (10 persons) that consists of 4 teachers and 6 parents of the students with special needs. The questionnaire for the research is Rating Scales (5 levels) which is designed by the researcher then the data is analyzed by using the descriptive statistics Correlation coefficient of variables and using Lisrel 8.72 program to analyze the second order confirmatory factor. The In-depth Interview is used to collect the qualitative data and analyze the data by using the content analysis. The results indicate that 1. The teacher’s characteristics of the students with special needs were found with the 5 factors and 54 variables which consist of 1) The factor of Ethics and the maximum value of variables is being the good imitation for students and community 2) The factor of personalities and emotions and the maximum value of the variables is understanding changeable emotions of the students with special needs 3) The factor of teaching management and the maximum value of the variables is paying attention on the teaching in classroom 4) The factor of ability and the maximum value of the variables is be able to communicate with the students with special needs and 5) The factor of the successful co-studying classroom and the maximum value of the variables is be able to build the right mindset for the regular students to not dis-admire or laugh at the students with special needs. 2. The model of the second order confirmatory factor of the teacher’s characteristics were found that the model consists of 5 factors and 54 variables which are 1) The factor of Ethics 2) The factor of personalities and emotions 3) The factor of teaching management 4) The factor of ability and 5) The factor of the successful co-studying classroom. The model is complied with the empirical data at good level (X2 = 2207.74, p-value = 0.00000, df = 1259, X2/ df = 1.75 and RMSEA = 0.036) 3. The development guidelines for teacher’s characteristics of students with special needs studying with the regular students in primary school are as following 1) Institution producing teachers shall build the basic foundation of values to work with love and be happy with teaching management for co-studyingclassroom and shall set up the efficient curriculum for special education for students in the education field and shall enhance the institutions to produce more specialized teachers for the students with special needs. 2) The current schools, the executive committee shall support the training about teaching management for co-studying classroom and basic understanding about the purpose of the success of co-studying classroom to the teachers in the school including support by considering to provide a raise or some support to the teachers who teach the co-studying classroom. 3) Motivate and strengthen teachers to develop the teaching plan to be like co-studying classroom i.e. conduct free-cost training, study visit, monitoring, giving compliments or rewards to the good teachers including developing the documentation of teaching plan and the documentation for the budget to be easier. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.degree.name |
วท.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|