Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครื่องมือวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมกรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกจำนวน 5 ดาน คือ ด้านความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านวิจัยในชั้นเรียน และด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือในด้านความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยง (Reliability) และ 3) เพื่อหาคะแนนจุดตัดและคู่มือการใช้เครื่องมือวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกที่มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูวิทยาสาสตร์ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) จำนวน 400 คน นำมาทดลองใช้เพื่อตรวจสอบความเป็นปรนัยทางภาษา จำนวน 10 คน จากนั้น นำมาทดลองใช้ครั้งที่ 2 จำนวน 90 คน เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ ด้านความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยง (Reliability) และใช้จริงครั้งที่ 3 เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความเที่ยง (Reliability) หาคะแนนจุดตัดและสร้างคู่มือการใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ลักษณะเครื่องมือเป็นแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก ได้แก่ ฉบับที่ 1 ด้านความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ ฉบับที่ 2 ด้านการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น จำนวน 30 ข้อ ฉบับที่ 3 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ ฉบับที่ 4 ด้านวิจัยในชั้นเรียน และแบบวัดที่เป็นมาตรวัด 5 ระดับ คือ ฉบับที่ 5 ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ
ผลการวิจัย พบว่า
1.แบบวัดทั้ง 5 ฉบับมีค่าความตรงตามเนื้อหาตั้งแต่ .60-1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ใช้สูตรของ Brennan มีค่าระหว่าง .21-.65 ส่วนแบบวัดฉบับที่ 5 หาค่าอำนาจจำแนกโดยการทดสอบค่าที พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด ทั้ง 5 ฉบับมีค่า t ตั้งแต่ 1.763 ถึง 1.927 ส่วนค่าความเที่ยง ของแบบวัดฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 ใช้สูตรของ Livingston มีค่า .891-.953 แบบวัดฉบับที่ 5 ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่า .941
2.คะแนนจุดตัดของแบบวัดฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ฉบับที่ 3 และฉบับที่ 4 หาโดยวิธีของ Angoff มีค่าเท่ากับ 17,18,23, และ 17 ตามลำดับ ดังนี้
2.1 แบบวัดฉบับที่ 1 ด้านความรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้สอบที่ได้คะแนน 17 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่าน มีจำนวน 242 คน คิดเป็นร้อยละ 87.05
2.2 แบบวัดฉบับที่ 2 ด้านการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ผู้สอบที่ได้คะแนน 18 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่าน มีจำนวน 236 คน คิดเป็นร้อยละ 84.89
2.3 แบบวัดฉบับที่ 3 ด้านทักาะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผู้สอบที่ได้คะแนน 23 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่านมีจำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยลั 91.00
2.4 แบบวัดฉบับที่ 4 ด้านวิจัยในชั้นเรียน ผู้สอบที่ได้คะแนน 17 คะแนนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มผ่าน มีจำนวน 234 คน คิดเป็นร้อยละ 84.17
3.สมรรถภาพด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับสูง ระดับสูง ( X̅ = 4.35,SD = .65) ความเพียรพยายาม ( X̅ = 4.16,SD = .63) ดานความมีระเบียบและคิดแบบละเอียดรอบคอบ ( X̅ = 4.12,SD = .67) ด้านความมีเหตุผล ( X̅ = 3.88,SD = .74) ความใจกว้าง ( X̅ = 3.87,SD = .66) และความซื่อสัตย์ ( X̅ = 3.84,SD = .77)