DSpace Repository

ความเอื้ออาทรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : การพัฒนาโมเดลการวัดและการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.advisor วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
dc.contributor.author ยุพา สัมมา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:00Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:00Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6899
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาโมเดลการวัดความเอื้ออาทรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดความเอื้ออาทรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เมื่อจำแนกตามเพศของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 615 คนเครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบวัดความเอื้ออาทรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความเที่ยงตรงของโมเดลการวัด การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ( EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการศึกษา พบว่า 1. โมเดลการวัดความเอื้ออาทรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโมเดลการวัดความเอื้ออาทรทั้ง 5 องค์ประกอบ คือ ความกังวล ต้นทุน ประโยชน์ต่อผู้รับ ความรู้สึกร่วม และความสะดวกต่อการหลบหลีก มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยดัชนีมีค่าดังนี้ Chi-square = 701.31 (p-value เท่ากับ 0.00), df = 225, Chi-square/ df = 3.117, SRMR = 0.053, RMSEA = 0.059, CFI = 0.955, GFI = 0.910 และ AGFI = 0.889 ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง และจากการตรวจสอบคุณภาพของโมเดลการวัดความเอื้ออาทร พบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.646-0.990 ความเที่ยงเชิงโครงสร้าง มีค่าเท่ากับ 0.936 (> 0.60) และความแปรปรวนเฉลี่ยที่สกัด มีค่าเท่ากับ 0.750 (> 0.50) อธิบายได้ว่า ชุดตัวแปรสังเกตมีความสอดคล้องภายใน และมีความเที่ยงตรงเชิงรวม บ่งบอกถึงโมเดลการวัดความเอื้ออาทรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ และสามารถที่จะนำโมเดลการวัดความเอื้ออาทรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นไปใช้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาได้ 2. โมเดลการวัดความเอื้ออาทรของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาไม่แปรเปลี่ยนตามกลุ่มเพศ กล่าวคือ เพศชาย และเพศหญิง สามารถใช้โมเดลการวัดความเอื้ออาทรนี้ร่วมกันได้ โดยดัชนีที่นำมาพิจารณามีค่าดังนี้ Chi-square = 678.71 (p-value เท่ากับ 0.00), df = 427, Chi-square/ df = 1.589, RMSEA = 0.044, CFI = 0.973, SRMR กลุ่มเพศชาย = 0.051, SRMR กลุ่มเพศหญิง = 0.051, GFI กลุ่มเพศชาย = 0.911 และ GFI กลุ่มเพศหญิง = 0.914 ซึ่งในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ความสอดคล้อง และพบว่า ค่าพารามิเตอร์ส่วนใหญ่ในโมเดลไม่แปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความเอื้อเฟื้อ
dc.subject พฤติกรรมการช่วยเหลือ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา
dc.title ความเอื้ออาทรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา : การพัฒนาโมเดลการวัดและการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน
dc.title.alternative Altruism of secondry school students :bmodel development nd invrince nlysis
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were; 1) to develop a model of altruism of secondary school students., 2) to test the invariance of the developed model. The samples consisted of 615 secondary school students in Samutprakan province in the first semester of academic year 2016. Questionnaires was used as research instrument. The statistical analysis on altruism were a Descriptive Statistics, Factor Analysis: EFA and Confirmatory Factor Analysis: CFA. The research results were; 1. Altruism of secondary school students consisted of five components; 1) Concern, 2) Cost, 3) Benefit to the recipient, 4) Empathy and 5) Ease of escape. The model fitted well with the empirical data Chi-square = 701.31 (p-value = 0.00), df = 225, Chi-square/ df = 3.117, SRMR = 0.053, RMSEA = 0.059, CFI = 0.955, GFI = 0.910 และ AGFI = 0.889 The factor loading of the altruism model is 0.646-0.990 Construct Validity is 0.936 (> 0.60) and average variance extracted is 0.750 (> 0.50). This shows that the observed variable has internal consistency and validity The model can be used to predict students altruism. 2. Altruism of secondary school student measurement invariance by gender, Male or Female share predicting the altruism, Chi-square = 678.71 (p-value=0.00), df = 427, Chi-square/ df = 1.589, RMSEA = 0.044, CFI = 0.973, SRMR Male = 0.051, SRMR Female = 0.051, GFI Male = 0.911 and GFI Female = 0.914 Overall, evaluation is that the consistency and parameters were invariant.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วท.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account