DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออกบนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.advisor ธนวิน ทองแพง
dc.contributor.author อ้อวดี สุนทรวิภาต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:53Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:53Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6891
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเพื่อประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลในภาคตะวันออก โดยการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) 2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อร่างรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐาน ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยใช้แบบสอบถามจากนายกเทศมนตรีและรองนายก เทศมนตรีของเทศบาลในภาคตะวันออก จำนวน 254 คน จำแนกเป็นนายกเทศมนตรี 80 คน และรองนายกเทศมนตรี 174 คน ซึ่งใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามเทศบาลต่าง ๆ ในภาคตะวันออก 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis: CFA) 4) การประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ คือ นายกเทศมนตรีเทศบาลในภาคตะวันออก จำนวน 17 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และ 5) การสรุปรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วย 21 องค์ประกอบภายใต้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักประสิทธิภาพ มี 2 องค์ประกอบ คือ ใช้ทรัพยากร อย่างประหยัด ลดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติงาน 2) ด้านหลักประสิทธิผล มี 4 องค์ประกอบ คือ มีวิสัยทัศน์ ปฏิบัติตามพันธกิจ มีการจัดการความเสี่ยง ติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงงาน 3) ด้านหลักการตอบสนอง มี 2 องค์ประกอบ คือ บริการอย่างมีคุณภาพ และสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจ 4) ด้านหลักภาระรับผิดชอบ มี 2 องค์ประกอบ คือ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีระบบติดตามและประเมินผล 5) ด้านหลักความโปร่งใส มี 3 องค์ประกอบ คือ เปิดเผยข้อมูลครบถ้วน ฟังความคิดเห็นจากทุกด้าน และตรวจสอบได้ 6) ด้านหลักนิติธรรม มี 2 องค์ประกอบ คือ ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติ 7) ด้านหลักความเสมอภาค มี 1 องค์ประกอบ คือ ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน 8) ด้านหลักการมีส่วนร่วม มี 2 องค์ประกอบ คือ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และเปิดโอกาสให้บุคลากรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมทางการบริหารจัดการ 9) ด้านหลักการกระจายอำนาจ มี 1 องค์ประกอบ คือ มอบอำนาจการบริหารและตัดสินใจ และ 10) ด้านหลักคุณธรรม มี 2 องค์ประกอบ คือ ความถูกต้องดีงาม และปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออก บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ละองค์ประกอบทั้ง 10 ด้าน มีค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การปกครองท้องถิ่น -- ไทย (ภาคตะวันออก)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject เทศบาล -- การบริหาร -- ไทย (ภาคตะวันออก)
dc.title การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออกบนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
dc.title.alternative The development of mngement model for the municiplities in the estern region bsed on good governnce
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study was to develop the management model for the municipalities in the Eastern region in Thailand based on the good governance and to evaluate the developed model. The research process consisted of five steps. The first step was to collect the baseline data of the municipalities in the Eastern region using document analysis. The second step was to develop the questionnaire as a research instrument. Then the questionnaires was distributed to 80 mayors and 174 deputy mayors of 225 municipalities in the Eastern region. Those samples were identified using stratified random sampling. The third step was to develop the management model based on good governance. The confirmatory factor analysis was used to test and confirm the model. The fourth step was to evaluate the appropriateness of the model. The evaluation was conducted by 17 mayors from the Eastern region obtained by purposive sampling. The fifth step was to finalize the model. The findings were as follows: 1. The management model for the municipalities in the Eastern region consisted of elements/ characteristics under the 10 major characteristics as the followings. 1) Efficiency, which consisted of reduction in steps in work process and reduction in time spent on work activities; 2) Effectiveness, which consisted of having work vision, following missions, managing risks and following up, evaluating and improving work; 3) Responsiveness, which consisted of providing quality service and establishing trust; 4) Accountability, which consisted of being responsible for oneself and society and having follow-up and evaluation systems; 5) Transparency, which consisted of revealing complete information, listening to people opinions and being accountable; 6) Rule of law, which consisted of issuing rules and regulations that are fair and equitable and avoiding discrimination or double standard; 7) Equity, which consisted of giving equal services and treatment to all people; 8) Participation, which consisted of listening to public opinions and providing stakeholders with opportunities to participate in the management process; 9) Decentralization, which consisted of involving employees or subordinates in management and decision-making processes; and 10) Integrity, which consisted of having virtues and being a good example. The median and the interquartile range are higher than the set standard criteria. 2. The evaluation results reveal that the management model is accurate, appropriate, feasible/ practical, and usable.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account