Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของ ข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษา ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู ของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 150 คน โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือเก็บรวมรวบข้อมูลมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ลักษณะเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ โดยมีอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .26-.81 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 และ 2) แบบสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัด ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์ ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ควรใช้หลักการทำงาน ร่วมกันระหว่างผู้บริหารและข้าราชการครูเปิดโอกาสให้ข้าราชการครูเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการ ในทุก ๆ ด้าน และการจัดอบรม สัมมนาให้ความรู้แก่ครูเกี่ยวกับงานวิชาการทุก ๆ ด้าน และแนวทางทาง ในการพัฒนาการมีส่วนร่วม ควรมีการร่วมกันพัฒนาในด้านหลักสูตรสถานศึกษา ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้มีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษา และเสนอ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนงานให้มากขึ้น