DSpace Repository

การเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์โดยการใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์
dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.author พิชชา ถนอมเสียง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:44Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:44Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6855
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ 2) พัฒนารูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตร ติดเกมออนไลน์ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยพ่อ แม่ และบุตร ซึ่งบุตรมีอายุอยู่ระหว่าง 11-15 ปี ที่มีภูมิลำเนาในเขตภาคเหนือตอนบน แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 1 ที่ใช้ในการศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว จำนวน 400 ครอบครัว ได้มาจากการใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่สอง จำนวน 20 ครอบครัว สุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับ การเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวโดยการใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์ เป็นการให้การปรึกษาครอบครัว จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 2 และสถิติทดสอบ ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.72, SD = 1.10) องค์ประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 2.86 รองลงมา คือ ด้านความผูกพันทางอารมณ์ ด้านการตอบสนองทางอารมณ์ ด้านบทบาท ด้านการควบคุมพฤติกรรม และด้านการแก้ไขปัญหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80, 2.79, 2.67, 2.66 และ2.53 ตามลำดับ 2. รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์เพื่อการเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว ที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัว เชิงกลยุทธ์ โดยขั้นตอนการปรึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป 3. การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวกลุ่มทดลอง หลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวกลุ่มทดลอง หลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัว เชิงกลยุทธ์และเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การติดเกมวิดีโอ
dc.subject ครอบครัว -- ไทย -- วิจัย
dc.subject วัยรุ่น -- การดูแล -- แง่จิตวิทยา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.title การเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์โดยการใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์
dc.title.alternative The enhncement of fmily functioning on children’s gme-online ddiction through strtegic fmily counseling model
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were; 1) to study the family functioning, 2) to develop the strategic family counseling for enhancing the family functioning, and 3) to evaluate the effectiveness of the strategic family counseling for enhancing the family functioning in families with game-online addicted children. The samples were 400 families in the northern region of Thailand consisting of father, mother and children who aged between 11-15 years. They were divided into two groups: The 400 families were from multiple-stage random sampling which used to study the family functioning, and 20 families were simple random into experimental group and control group. The experimental group was strengthens by strategic family counseling. The instruments were; 1) the family functioning inventory for game-online addicted children with the reliability at 0.98, and 2) the strategic family counseling model including 10 sessions, 60 minutes each. The statistics used to analyze including the confirmatory factor analysis and the analysis of variance with repeated measures. The results were as follows: 1. The total mean score of the family functioning were at moderate level ( = 2.72, SD = 1.10). The scores of all family functioning components were at moderate. The communication had highest mean at 2.86, followed by affective involvement, affective responsiveness, roles, behavior control and problem solving with mean at 2.80, 2.79, 2.67 and 2.53 respectively. 2. The strategic family counseling model to enhance family functioning on children’s game-online addiction was developed from the concepts and techniques of strategic family counseling theory. This model included-initial stage, working stage, and termination stage. 3. The family functioning of the experimental group after participating in the strategic family counseling model after the follow-up were statistic significantly higher than before the experiment at .05 level. 4. The family functioning of the experimental group after participating in the strategic family counseling model and after the follow-up were statistic significantly higher than that control group at .05 level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account