dc.contributor.advisor |
สมนึก ทองเอี่ยม |
|
dc.contributor.author |
จำนงค์ ทองลอย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:21:41Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:21:41Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6840 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา “กรุงไทยอนุเคราะห์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ซึ่งเป็นแบบประเมินลักษณะ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของของลิเคิร์ต (Likert’s five-point rating scale) ใช่ค่าสถิติ ร้อยละ (%) วิเคราะห์ข้อมูลผู้ตอบแบบประเมินในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันและสภาพที่ควรจะเป็นในความคาดหวัง ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ในการพัฒนา (PNImodified) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา และค่าร้อยละ (%) และร้อยละสะสม (% สะสม) วิเคราะห์ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบประเมินการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สภาที่เป็นจริงในปัจจุบันของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับ ปานกลาง ซึ่งต้องหาทางแก้ไขตามลำดับ ดังนี้ ด้านความรู้ ด้านความสามารถ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ สภาพที่ควรจะเป็นในความคาดหวังของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก ซึ่งต้องปรับปรุงตามลำดับ ดังนี้ ด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสามารถ และด้านความรู้ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความต้องการในการพัฒนาตามลำดับ ดังนี้ ด้านความรู้ ด้านความสามารถ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ และข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความรู้ ดังนี้ นักเรียนควรมีการค้นคว้าข้อมูลความรู้เพิ่มเติมให้มากกว่านี้ ครูควรมีการจัดกิจกรรม นอกห้องเรียนมากขึ้น ครูควรจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพ ครูควรจัดการเรียนการสอน นอกเวลาปกติ ด้านความสามารถ นักเรียนควรมีการออกกำลังกายและเล่นกีฬา โรงเรียนควรเปิดโอกาส ในการเรียนรู้หลาย ๆ ด้าน ด้านความรับผิดชอบ นักเรียนต้องมีความอดทนมากกว่านี้ นักเรียนควรมี ความตรงต่อเวลา และด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างพี่กับน้อง ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนมีกิริยามารยาทที่สุภาพ นักเรียนควรยิ้มทักทายกัน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
|
dc.subject |
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.title |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนทุ่งศุขลาพิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์" สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 |
|
dc.title.alternative |
The secondry students’ desirble qulifiction in Thungsuklpitty “Krungthi Anukroh” School under the Secondry Eductionl Service Are Office 18 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the secondary students’ desirable qualification in Thungsuklapittya “Krungthai Anukroh” School under the Secondary Educational Service Area Office 18. The research collected data by questionnaire. The statistics for data analysis were: mean ( ), standard deviation (SD), modified priority needs index (PNImodified), percentage (%) and commulative percentage (% com). The result revealed that the secondary students’ desirable qualification in Thungsuklapittya “Krungthai Anukroh” School’s was at the moderate level, it needed to solve the following problems: students’ knowledge, students’ ability, students’ responsibility and students’ relationship: respectively. The index of expectation was at “high level” with the following improvements of students’ relationship, students’ responsibility, students’ ability and students’ knowledge. The consisted of; students’ knowledge, students’ ability, students’ responsibility and students’ relationship and the suggestion for the students’ desirable knowledge qualification development was that students must do more selves study and find out appropriate knowledge for themselves, teachers should create outdoor learning activities for students and used highly potentiality for teaching activities, the students’ desirable ability qualification suggested that the school should promote and support students every day life physical exercises and selected one favorite sport for themselves. The students’ desirable responsibility qualification suggested that the students must be more patient and punctuality and the students’ desirable relationship qualification suggested that the school and teachers should create activities for encouraging the students to work together and shaped students’ polite behavior. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|