DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศกึษามัธยมศึกษา เขต 17

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนวิน ทองแพง
dc.contributor.author วัลลภ พัฒนผล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:20:27Z
dc.date.available 2023-05-12T03:20:27Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6822
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 พ.ศ. 2559 จำนวน 98 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-609) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และใช้วุฒิการศึกษาเป็นเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .40-.84 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 มีสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด โดยรวมและ รายด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด จำแนกตามประสบการณ์สอน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรสร้างพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น อบรมชี้แจงจัดหาเอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรและ การนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรจัดสภาพแวดล้อมส่งเสริมบรรยากาศภายในโรงเรียน ให้เอื้อต่อการจัดการการสอน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ขวัญกำลังใจครู และมีการประเมินปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน พบว่า จัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการวัดผลและ ประเมินผลการเรียนการสอนโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง พัฒนาและมีส่วนร่วมในการใช้เครื่องมือวัดผล ให้ได้มาตรฐาน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรจัดหาสื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียน การสอนและพัฒนาด้านวิชาการ ส่งเสริมงบประมาณประสานความร่วมมือให้ครูผลิต พัฒนาสื่อ และนวัตกรรม การเรียนการสอน และประเมินผลการใช้สื่อ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด
dc.subject การศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject การบริหารการศึกษา
dc.subject การวางแผนการศึกษา
dc.title ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศกึษามัธยมศึกษา เขต 17
dc.title.alternative Problems nd guidelines for cdemic ffirs dministrtive development of Streeprsertsin school trt under the secondry eductionl service re office 17
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study problems and guidelines for academic affairs administrative development of Satreeprasertsin School Trat under the Secondary Educational Service Area 17. The sample group consisted of 98 teachers from Satreeprasertsin School, determining sample size by using Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-609). Stratified random sampling and was applied based on their educational background. The instrument used to collect the data was a 5-level-scale questionnaires asking 30 questions. Its item discriminating power was between .40-.84 and the reliability was .96. The statistical approaches used in this study included Mean ( ), Standard Deviation (SD), t-test and One-way ANOVA. The findings revealed as follows: 1. Problems for academic affairs administration of Satreeprasertsin School Trat were considered at a high level both in general and each aspect. 2. Comparing the Problems for Academic Affairs Administration of the assistant director, classified by teaching experiences and each aspect showed no statistically significance. Whereas, educational background was statistically significant at rate .05 level. 3. Guidelines for academic affairs administration included school should consider the factors as the following: Curriculum development-improves curriculum to fit the local needs, provide courses for curriculum training and try out the improved curriculum improvement of learning-provides proper classroom atmosphere to support learners, emphasize on students’ learning and encourage teachers on teaching, evaluating and improving the teaching process. Measurement and evaluation and credit transferring-provides assessment and evaluation training, emphasize on authentic assessment and develops and takes part in using standard evaluation tools. Research-provides technology for teaching and academic development, support budget for improvement of teaching aids, media and learning innovation and evaluate the result of using teaching materials.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account