Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้างบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากร โรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ปีการศึกษา 2558 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามเพศ จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 54 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ที่ระหว่าง .22-.81 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ วิธีการ LSD (Least significant different) ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการบริหารงานงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามอายุ โดยรวมรายด้านบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไปแตกต่างกันอย่างไม่มัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการบริหารงานงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร โรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน รายด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารงานทั่วไป แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนโดยรวมและรายด้านการบริหารงานงบประมาณด้านการบริหารงานบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05