Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อมและแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูประจำชั้นที่ปรึกษาของโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 48 คน โดยการเปิดตารางเครจซี่ มอร์แกน และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นเครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25-.78 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติ t-test สถิติ F-test (One way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้การเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการทดสอบรายคู่แบบ LSD (Least significant difference) ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 อยู่โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามอายุ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการจัดการบริเวณโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ด้านการจัดการอาคารเรียน มีความแตกต่างรายคู่ 2 คู่ ด้านการจัดการห้องเรียน มีความแตกต่างรายคู่ 1 คู่ ด้านการการจัดการโรงอาหารมีความแตกต่าง 1 คู่ และด้านการการจัดการห้องสุขามีความแตกต่าง 1 คู่ 3. แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 คือ คือ ควรมีป้ายจราจรที่ชัดเจน สร้างอาคารใหม่ หรือปรับปรุงให้แข็งแรง และมั่นคงและสวยงาม ควรซ่อมแซมห้องเรียนบางห้องที่ชำรุด โรงอาหารคับแคบ อากาศควรถ่ายเทสะดวก และให้เปลี่ยนกลอนประตูสำหรับเด็ก และเปลี่ยนกลอนประตูที่ชำรุดให้สามารถใช้ห้องน้ำได้อย่างถูกสุขอนามัย