DSpace Repository

ทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.author นริยา บุญมณีสิรีกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:20:16Z
dc.date.available 2023-05-12T03:20:16Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6778
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จำแนกตามเพศ และระดับผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดกลุ่มตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีน จำนวน 40 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .60 ถึง .89 ค่าความเชื่อมั่น .98 การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าวิกฤต (t-test) ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1. ทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านรายวิชา และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 1.1 ด้านรายวิชา พบว่า นักเรียนมีทัศนคติต่อวิชาภาษาจีน ว่ามีคำหรือคำศัพท์จำนวนมากอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการออกเสียงภาษาจีนใช้ฐานเสียงหลายฐานเสียง การเขียนภาษาจีนด้วยพู่กันเป็นศิลปะชั้นสูง การเขียนภาษาจีนเรียงบรรทัดจากซ้ายไปขวา อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 1.2 ด้านผู้สอน พบว่า นักเรียนมีทัศนคติต่อครูผู้สอนว่าเป็นตัวอย่างในการออกเสียงภาษาจีนที่ถูกต้อง ผู้สอนมีการเตรียมเนื้อหาล่วงหน้า และผู้สอนมีการปรับเนื้อหาในบทเรียนให้มีความทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง ตามลำดับ 1.3 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนรู้สึกชอบที่ครูอธิบายการทำกิจกรรมด้วยภาษาจีน กิจกรรมในวิชาภาษาจีนน่าสนใจ และทุกครั้งที่มีกิจกรรมใหม่ ๆ จะทำให้นักเรียนรู้สึกตื่นเต้น ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จำแนกตามเพศชายและหญิง โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามผลการเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
dc.title.alternative Attitude towrds chinese lerning of students in bngpleertbmrung secondry school smutprkrn eductionl service re office 6
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was attitudes toward Learning Chinese of student in Bangpleeratbamrung secondary school classified by gender and grade. The size of sample size used the table of Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-610) the samples were 85 students. The instrument used in the research is questionnaires about their attitudes to learning Chinese, 40 items. The discrimination items were “between .60 to .89”. The reliability was .98. Data collection used by questionnaires is rating scale of the 5 levels. The statistics used to analyze data were mean ( ), standard deviation (SD), t-test and One-way ANOVA. Results of the study finding: 1. Attitudes toward Learning Chinese of student in Bangpleeratbamrung secondary school was overall and each aspect at a high level, in descending order from most to least average include Instructor, the Course and Teaching activities. 1.1 The Course found Students' attitudes towards the Chinese: many words or vocabulary at the highest level, The Chinese pronunciation to base used many sound bases; Chinese writing by paintbrush is high art; Chinese Writing by line, from left to right; at a high level, respectively. 1.2 Instructor found that student' attitudes towards teachers as an example the Chinese pronunciation is correct, Teachers have to prepare content in advance and Teachers have to adapt the lesson to be modern and practical, respectively. 1.3 Teaching activities found students like the teacher explains the activity with the Chinese, Activities in the Chinese class are interest, and a new activity to get students were excited every time, respectively. 2. Comparing attitudes toward Learning Chinese of student in Bangpleeratbamrung secondary school by male and female by overall and each aspect was the difference is not statistically significant. 3. Attitudes toward Learning Chinese of student in Bangpleeratbamrung secondary school, Education service area office 6 by grade by overall and each aspect was difference was statistically significant at .05 except for the activity of teaching difference was not significant statistically.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account