Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านคุณลักษณะของบัณฑิตนักปฏิบัติ และเพื่อประเมินหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านคุณลักษณะของบัณฑิตนักปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงตะวันออก โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยแซงค์ โดยมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตร 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างหลักสูตร และ 3) การประเมินคุณภาพหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ผลิตบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 111 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบของสมรรถนะและคุณภาพบัณฑิตด้านคุณลักษณะ และหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านคุณลักษณะของบัณฑิตนักปฏิบัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ประกอบด้วย 7 หน่วยการเรียนรู้เวลา 30 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบของสมรรถนะด้านคุณลักษณะตามที่ผู้ผลิตบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิตมุ่งหวังให้เกิดกับบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก พบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ต้องการให้มีในระดับมากที่สุด คือ สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรมในการทำงานมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 สมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในกรปฏิบัติงาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 สมรรถนะด้านบุคลิกภาพ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 สมรรถนะด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 สมรรถนะด้านทักษะการเป็นผู้นำมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 และสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 ตามลำดับ 2. ได้หลักสูตรฐานสมรรถนะด้านคุณลักษณะของบัณฑิตนักปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มีค่า P.M. เท่ากับ 11.04 แปลความหมายตามเกณฑ์การประเมินค่า P.M. ได้ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพสูงหรือดีมาก มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้