DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author จิรชยา ศรีทา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:20:13Z
dc.date.available 2023-05-12T03:20:13Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6763
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อํานาจของผู้บริหารกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสํานักงานการศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จังหวัดระยองกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง เครจซี- และมอร์แกน (Krejcie & morgan, 1970, pp. 607-608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้อํานาจของผู้บริหาร จํานวน 27 ข้อ โดยมีค่าอํานาจจําแนกอยู่ระหว่าง .25 ถึง .85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .94 และแบบสอบถามความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู จํานวน 21 ข้อ โดยมีค่าอํานาจจําแนกอยู่ระหว่าง .23 ถึง .92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .91 ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( X ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้อํานาจของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จังหวัดระยอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านอํานาจจากการบังคับอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จังหวัดระยอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3. การใช้อํานาจของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสํานักงานการศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์กับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูโดยรวมในระดับต่ำ ได้แก่ ด้านการสูญความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และด้านความไม่สมหวังในผลสําเร็จของตน ยกเว้น ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา -- ระยอง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ครูประถมศึกษา -- การทำงาน
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนกลุ่มบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จังหวัดระยอง
dc.title.alternative Reltionship power usges of dministrtors s relted to burnout in the techer of bnchngpttn school group, ryong primry eductionl service re office 1 ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the relationship between the power usage of administrators and the burnout in the teachers of Banchangpattana school group, Rayong Primary Educational Service Area 1. The research sample size was determined by the Krejcie & Morgan tables (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608). The research sample was 152 teachers. The research instrument was a questionnaire about the use of executive power that consisted of 27 items. The discriminative power of the questionnaire was between 2.5-8.5. The reliability of the questionnaire was .91. The questionnaire was a five-level rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis included mean scores ( X ), Standard Deviation (SD), and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The research results were: 1. The power usage of the administrators of Banchangpattana School group, Rayong Primary Educational Service Area 1in overall and individual aspects were at a high level, except the mandatory power usage was at a moderate level. 2. The burnout in the teachers of Banchangpattana School group, Rayong Primary Educational Service Area 1 in overall and individual aspects were at a moderate level. 3. The power usage of administrators and the burnout in the teachers of Banchangpattana school group, Rayong Primary Educational Service Area 1 had a positive relationship with to the burnout of teachers at a low level. The aspects were the loss of personal relationship, the disappointment in their own success. Except for the emotional exhaustion aspect, the relationship is relatively low at the statistical significance level. 05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account