DSpace Repository

การพัฒนาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรีโดยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.advisor ประชา อินัง
dc.contributor.author พูลสุข บุญก่อเกื้อ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:20:12Z
dc.date.available 2023-05-12T03:20:12Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6761
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) ศึกษาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรี 2) สร้างรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรี 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 ในมหาวิทยาลัย ภาคตะวันออก แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของความฉลาดทางเพศเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 จำนวน 914 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 2 คัดเลือกจากนักศึกษาที่มีคะแนนความฉลาดทางเพศตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 ลงมา จำนวน 20 คน สุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาความฉลาดทางเพศ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรี พบว่าโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันความฉลาดทางเพศประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การตระหนักรู้เรื่องเพศ การเรียนรู้เรื่องเพศ และการจัดการเรื่องเพศ มีค่าความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และสามารถวัดองค์ประกอบของความฉลาดทางเพศได้ 2. รูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรีประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการและขั้นสรุป โดยมีการประยุกต์แนวคิดทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษามาใช้ในการพัฒนาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรี 3. ความฉลาดทางเพศโดยรวมและรายองค์ประกอบของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่ารูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการมีผลให้ความฉลาดทางเพศของนักศึกษา ปริญญาตรีเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 4. ความฉลาดทางเพศโดยรวมและรายองค์ประกอบของกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
dc.subject ความฉลาดทางอารมณ์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.title การพัฒนาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรีโดยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ
dc.title.alternative The development of sexul intelligence for undergrdute students using integrted group counseling model
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were; 1) to study undergraduate students’ sexual intelligence, 2) to create the integrative group counselling model for enhancement of undergraduate students sexual intelligence, and 3) to evaluate the effectiveness of the integrative group counselling model. The subjects were second year undergraduate students who were currently studying at University in the eastern region of Thailand. They were divided into two groups. The first group consisted of 914 second years of undergraduate students who were studying in University. This group was a representative sample for a sexual intelligence components. The second group was 20 second year undergraduate students who were studying in University whose sexual intelligence score was lower than 50th percentile. They were randomly assigned into two groups, classified as an experiment group and control group. Each group consisted of 10 student. The experiment group participated in an integrative group counseling model while the control group did not receive the integrative group counseling model. The research results were as follows: 1. The confirmatory factor analysis significantly confirmed that the model of sexual intelligence functioning could be characterized into three factors: sexual awareness, sexual learning and sexual management. These three factors were high loading at the .01 level and could accurately measure the sexual intelligence functioning factors. 2. The integrative group counselling model consisted of three stages: the initial stage, the working stage and the final stage. The counselling theories and techniques were applied to the development in the sexual intelligence of the undergraduate students. 3. Statistically significant differences in the total sexual intelligence of each component of the sexual intelligence of the experimental group existed before and after participation in the integrative group counselling model and the follow up period at .05 level. The results of this study indicated that the integrative group counselling model was a key factor in increasing positive change in the sexual intelligence of the undergraduate students. 4. Statistically significant differences in the total sexual intelligence of each component of the sexual intelligence between the experimental group and the control group existed after participation in the integrative group counselling model and the follow up period at .01 level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account