dc.contributor.advisor |
สมุทร ชำนาญ |
|
dc.contributor.author |
วีรศักดิ์ ปกป้อง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:20:08Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:20:08Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6754 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเทียบจากตารางของ Krejcie and Morgan (1970, p. 607) ได้กลุ่มตัวอย่าง 212 คน เครื่องมือที่ใช้ลักษณะเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 จำนวน 33 ข้อ มีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .30-.76 และค่าความเชื่อมั่น .94 ตอนที่ 2 เกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 จำนวน 49 ข้อ โดยมีอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .31-.85 และค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการศึกษา พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมคติ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล ตามลำดับ 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 ปัจจัยจูงใจ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสำเร็จของงานด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ ปัจจัยค้ำจุน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเงินเดือน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านการปกครองบังคับบัญชา ตามลำดับ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 ด้านปัจจัยจูงใจ โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ด้านปัจจัยค้ำจุน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ผู้บริหารสถานศึกษา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
ภาวะผู้นำทางการศึกษา |
|
dc.subject |
แรงจูงใจในการทำงาน |
|
dc.subject |
ภาวะผู้นำ |
|
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 |
|
dc.title.alternative |
The reltionship between trnsformtionl ledership nd work motivtion of techers in chonburi 2 school cluster |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research was to study the relationship between transformational leadership and work motivation of teachers in Chonburi 2 school cluster. The sample in this study was 212 teachers in Sahawittayakhet 2. The number of sample was consulted by the Krejcie and Morgan’s table (Krejcie & Morgan, 1970, p. 607).Data collection instrument in this study was a five-point-rating-scale questionnaire where part 1 asked33 questions concerning transformational leadership of their administrator. This section of the questionnaire has its item discriminating power between .30-.76. The reliability of this questionnaire was .94. Another 49 questions in part 2 asked questions concerning work motivation of the teachers. In this part, its item discriminating power was between .31-.85. The reliability of this questionnaire was .97.The statistical methods used in this study were Average ( ), Standard Deviation (SD), and Pearson’s product moment correlation coefficient. The research reached the following conclusions: 1. Transformational leadership of administrator of teachers in Chonburi 2 School cluster both in general and each aspect was at a high level. The top 4 areas of transformational leadership of the teacher were 1) idealize influence, 2) intellectual stimulation 3) inspirational motivation, and 4) individualized consideration. 2. Work motivation of school teacher in Chonburi 2 School cluster both in general and each aspect was at a high level. The top 5 factors which could motivation of school teachers were 1) the achievement of work, 2) career development, 3) types of work, 4) being accepted by other, 5) responsibility. When considering each aspect of the Hygiene factors, this study found that most teachers valued 1) salary, 2)management policies, 3) work conditions, 4) relationship with other people, and 5) relationship with their supervisors. 3. This study found that the relationship between transformational leadership and work motivation of teachers in Chonburi 2 school cluster was positive at a moderate level with statistically significantly difference at 0.05 level. However, the relationship between transformational leadership and hygiene factor showed a positive relationship at a low level with statistically significantly difference at 0.05 level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|