dc.contributor.advisor |
สมุทร ชำนาญ |
|
dc.contributor.author |
กนกทิพย์ ดอกลัดดา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:20:06Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:20:06Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6747 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนราชววินิตบางแก้ว มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) อยู่ระหว่าง 40 - .83 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษาโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ระหว่าง .48 - .84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 เป็ นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารสถานศึกษาทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงอันดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารวิชาการและด้านการบริหารงานบุคคลเป็นอันดับสุดท้าย 2. ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงอันดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนต่อสภาวะแวดล้อมที่มากระทบทั้งภายในและภายนอก ด้านความสามารถในการใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีของครู ด้านความใฝ่รู้ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน และความสามารถในการจัดสรรทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลสถานศึกษาของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 พบว่า โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด ได้แก่ ด้านบริหารวิชาการกับด้านความใฝ่รู้รักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน และคู่ที่มีความสัมพันธ์กันต่ำสุด ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคลกับด้านความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
สถานศึกษา -- การบริหาร |
|
dc.subject |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลสถานศึกษาของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 |
|
dc.title.alternative |
Reltionship between school mngement nd effectiveness of rtwinit bngkeo school under the office of secondry ductionl service re 6 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to study the relationship between school management and to study the effectiveness of Ratwinit Bangkaeo school under the office of secondary educational service area6. The sample consisted of 113 teachers of Ratwinit Bangkaeo school. The research instruments was a five rating scale questionnaire with the discrimination (power) between 40 - .83 and reliability was .97, for the questionnaire on school management, and the discrimination (power)between 48 - .84 and reliability at .97 for school effectiveness. The statistics used for data analysis were standard deviation and pearon correlation coefficient. The result were that: 1) The level of school management was at high level, ranging from budget, General administration budget, General Administration, Academic management and personnel Administration, respectively. 2) The level of the school effectiveness was at high level, ranging from The satisfaction of the work of teachers, the ability to adapt to environmental conditions that affect both internal and external, the teachers’ ability to use innovation and technology, the desire to learn to read on their own pursuits of students, and the ability to allocate resources efficiently, respectively. 3) There was high relationship between school management and the school, effectiveness statistically significant at the .01, The highest relationship was between the academic managing and stunts self learning. While the lowest relationship was between personnel management and the efficient resource management. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|