DSpace Repository

ความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และบุตรธิดาต่อการอยู่อาศัย ในสถานสงเคราะห์คนชรากับคุณค่าทางสังคมไทย

Show simple item record

dc.contributor.author กชกร สังขชาติ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:00Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:00Z
dc.date.issued 2539
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/672
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุและบุตรธิดา ต่อการอยู่อาศัยในสถานสงเคราะห์คนชรากับคุณค่าทางสังคมไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง จำนวน 17 คน และบุตรธิดาที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การบรรยายเชิงพรรณาความ และใช้สถิติแบบร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ส่วนที่มีผลต่อผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ ทางบวกและทางลบ ทางบวก พบว่า ผู้สูงอายุไม่ต้องการรับผิดชอบหาเลี้ยงชีพหรือหารายได้ด้วยตัวเอง คิดเป็นร้อยละ 58.82 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าทำให้บุตรธิดาสบายใจ หมดความกังวลที่ไม่ต้องรับภาระเลี้ยงดู และผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาครอบครัวในเรื่องค่าใช้จ่ายหมดไป ทางลบ พบว่า ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่น ขาดความเอื้ออาทรจากลูกหลาน คิดเป็นร้อยละ 58.82 รู้สึกว้าเหว่ และคิดถึงบุตรธิดามากที่สุด เมื่อเวลาเจ็บป่วย คิดเป็นร้อยละ 52.94 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าบุตรธิดาควรจะแสดงความกตัญญููกตเวทีต่อบุพการี คือ รู้อุปการคุณและตอบแทนคุณท่าน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่คิดว่าบุตรธิดาควรจะสืบทอดต่อไปเรื่องครอบครัวไทยคือ เลี้ยงดูผู้สูงอายุให้อยู่ในครอบครัวเมื่อยามแก่ชรา เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมไทย คิดเป็นร้อยละ 88.24 2. ส่วนที่มีผลต่อบุตรธิดา แบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ ทางบวกและทางลบ ทางบวก พบว่า บุตรธิดาส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาของครอบครัวในเรื่องค่าใช้จ่ายหมดไป คิดเป็นร้อยละ 35.29 ทางลบ พบว่า บุตรธิดาส่วนใหญ่ขาดความอบอุ่นโดยเฉพาะเวลาที่มีความทุกข์ ไม่มีที่ปรึกษา คิดเป็นร้อยละ 41.18 บุตรธิดาเพศชายส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าถ้าตนมีรายได้เพียงพอจะรับมารดาบิดามาอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 41.18 3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้สูงอายุและบุตรธิดาเกี่ยวกับคุณค่าทางสังคมไทย 5 ประการ ซึ่งบุตรธิดาพึงปฏิบัติต่อมารดาบิดาอันได้แก่ 1) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบแทน 2) ช่วยทำการงานของท่าน 3) ดำรงวงศ์สกุล 4) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท 5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 3.1 กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุเพศหญิง เพศชาย ส่วนใหญ่คิดว่าการที่บุตรธิดาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตอบแทนตนทั้ง 5 ประการที่กล่าวมาแล้วไม่ได้รู้สึกอะไร เพราะไม่ได้คาดหวังว่าบุตรธิดาจะต้องปฏิบัติทั้ง 5 ประการแก่ตน ในส่วนของความกตัญญูกตเวที ผู้สูงอายุมีความคิดเห็นว่าบุตรธิดาควรรู้อุปการคุณและตอบแทนคุณท่าน และบุตรธิดาควรจะสืบทอดต่อไปในเรื่องครอบครัวไทย คือ เลี้ยงดูผู้สูงอายให้อยู่ในครอบครัวเมื่อยามแก่ชรา 3.2 กลุ่มบุตรธิดา เพศหญิง เพสชาย พบว่า สาเหตุที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมารดาบิดาครบ 5 ประการนั้น เนื่องจากปัญญาทางเศราฐกิจ แต่คิดว่าถ้าท่านล่วงลับไปแล้วจะทำบุญอุทิศให้ท่าน เรื่องความกตัญญูกตเวทีนั้น แสดงความคิดเห็นว่า บุตรธิดาควรจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี คือ รู้อุปการคุณและตอบแทนคุณท่าน ซึ่งสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคมที่ปรากฎอยู่ในสังคมไทย ส่วนในเรื่องการสืบทอดหน้าที่ของครอบครัวไทยนั้น พบว่า บุตรธิดาเพศหญิงส่วนใหญ่ไม่เคยไปเยี่ยมผู้สูงอายุเลยตั้งแต่ท่านเข้ารับการสงเคราะห์ใสสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง ไม่สอดคล้องกับคุณค่าทางสังคมที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย บุตรธิดาเพศชายส่วนใหญ่ พบว่า ไปเยี่ยมผู้สูงอายุมากกว่า 3 ครั้ง นับตั้งแต่ท่านเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง สอดคล้องกับคุณค่าทางสังคมที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยครั้งนี้สนับสนุนให้บุตรธิดาเลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ในครอบครัวเดียวกันเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมไทยสืบไป th
dc.description.sponsorship โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2539 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ - - การสงเคราะห์ - - ไทย - - วิจัย th_TH
dc.subject ผู้สูงอายุ - - วิจัย th_TH
dc.subject สถานสงเคราะห์คนชรา - - ไทย - - วิจัย th_TH
dc.title ความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และบุตรธิดาต่อการอยู่อาศัย ในสถานสงเคราะห์คนชรากับคุณค่าทางสังคมไทย th_TH
dc.title.alternative The views of the elderly living in a home for the aged and of their off springs towards staying in the home for the elderly and the values of Thai society en
dc.type Research th_TH
dc.year 2539
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the views of the elderly living in a home for the aged and of their off springs towards the values of Thai society. The study focused on a population sample in Barn Banglamung Home for the Elderly. It consisted of 17 elderly people and 17 of their off springs living in the provinces of Chachoengsao, Chonburi, and Rayong. Questionnaires and intensive interviews were used in the study. The data was analyzed by using percentage. Summary of the finding. The study indicated the following: A general overview disclosed both positive and negative impressions. 1. The effect on the elderly subjects disclosed both positive and negative impressions. the positive impression found was that 58.82% of the subjects reported their needs of not to continue working. Most of the elderly subjects reported that the offspring felt relaxed, not anxious in financial burden for care with parents living in the home, and also they reported that it was not the financial problems at home. The negative impression found was that 58.82% of subjects reported their experiences of lack in kindness from their offsprings, and 52.94% of subjects reported their sense of being isolated from the family, particularly during the period of their ailment. Most of the subjects reported that the offspring should be grateful to their aging parents in return and that 88.24% of the offspring should have an obligation of care for their aging parents at home as to follow the basic values of Thai culture. 2.The effect to the offspring subjects disclosed both positive and negative impressions. The positive impression found was that 35.29% of subjects reported that most of the offspring did not have financial problems at home. The negative impression found was that 41.18% of the subjects reported the lack in kindness from their mother and father, particularly during the period of sadness, and being without consultants. 41.18% of the male members in the study expressed their opinions that if the financial means were available, they would prefer to have the elderly parents stay in the home. 3.Analysis of the views of both the elderly and their offspring about the five basic values of Thai society relating to offspring care for the aged listing the following five basic values :1) Having been supported by them, I will support them in return. 2) I will do their work for them. 3) I will keep up the honor and the traditions of my family. 4) I will make myself worthy of my heritage. 5) I will make offerings, dedicating merit to them after their death, all of which were divided into 2 categories: 3.1 The view of the elderly subjects in the study reported that they did not fell upset when the offspring did not make every attempt to meet these five principles to follow the basic values of Thai culture because they did not expect that the offspring had an obligation to adhere to all five of the previously listed values. For being grateful to their aging parents, they expected that the offspring should give care to them in return and it was an obligation to care their aging parents at home by following the basic values of Thai culture. 3.2 The view of the offspring reported the reason they could not support the five principles fully that it was due to their economic hardship. But they did feel that they would dedicate merit to the elderly parents after their death. For being grateful to their aging parents, the offspring should give care to them in return. This reflects the positive values of Thai culture. For an obligation to care frothier aging parents staying in the home, it was reported that most of the female members did not pay a visit to their aging parents in Barn Banglamung Home for the Elderly. This does not reflect the positive values of Thai culture. Most of the male members did pay a visit to their aging parents in Barn Banglamung Home for the Elderly more than three times since the beginning of their stay. This reflects the positive values of Thai culture. Recommendation proposed by the researcher emphasize the support of the elderly parents at home by the offspring to follow the basic principles of Thai culture. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account