Abstract:
การศึกษาเรื่อง “ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล กรมยุทธการทหาร”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลกรมยุทธการทหารและเพื่อเปรียบเทียบระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กำลังพล กรมยุทธการทหาร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบปฐมภูมิ เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย( X̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรใช้ค่าการทดสอบที (Independent sample t-test) และสถิติOne-way ANOVA, Brown-forsythe และ Welch โดยเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Soheff’smethod)และ LSD โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล กรมยุทธการทหารในภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีขวัญและกำลังใจมากเป็นลำดับแรกคือ ด้านการยอมรับในการทำงานและความมั่นคง รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงานด้านสภาพแวดล้อมการทำงานและความรับผิดชอบในหน้าที่ ด้านความรู้สึกเป็นหนึ่งของหน่วยงานด้านสวัสดิการ ส่วนด้านความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นด้านที่มีขวัญและกำลังใจต่ำสุด ผลการเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล พบว่า กำลังพล กรมยุทธการทหารที่มี เพศ วุฒิการศึกษา รายได้ และลักษณะงาน ที่แตกต่างกัน มีระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยและกำลังพล ที่มี อายุ สถานภาพสมรส ชั้นยศ และระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบันที่แตกต่างกัน มีระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05เป็นไปตามสมมติฐาน