DSpace Repository

การจัดการความรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียงด้านเกษตรธรรมชาติ : กรณีศึกษาของศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุษณากร ทาวะรมย์
dc.contributor.author ศุภชัย เกิดเจริญพร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:17:50Z
dc.date.available 2023-05-12T03:17:50Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6699
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงด้านเกษตรธรรมชาติ รวมถึงการจัดการความรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียงด้านเกษตรธรมมชาติของศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) คือ เจ้าหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ฯ จำนวน20 คน ทำการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผ(Content analysis) ผลการศึกษามีดังนี้ 1. สภาพการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ฯ พบว่า มีการดำเนินงานโดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ โดยเฉพาะเรื่องของเกษตรธรรมชาติทั้ง 5 กลุ่มงาน คือการปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตปุ๋ยและสารไล่แมลง การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะและผลิตปุ๋ย การปลูกผักแบบเกษตรธรรมชาติ และการเก็บเม็ดพันธุ์เกษตรธรรมชาติ ทำให้บุคลากรภายในศูนย์มีความรู้เพิ่มขึ้นและเกิดการเรียนรู้ 2. การจัดการความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติของบุคลากรภายในศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ฯ พบว่าบุคลากรภายในศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ฯ มีเป้าหมายของการจัดการความรู้ คือ การพัฒนาคน การพัฒนางานและการพัฒนาองค์การ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายใน การอบรมจากครู รุ่นพี่สอนงานรุ่นน้อง และภายนอกศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ฯ การออกไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ การพูดคุยซักถามกับคณะที่เข้ามาศึกษาดูงานมีการรวบรวมความรู้ในรูปแบบการจดจำ การจดบันทึก และมีการสร้างความรู้จากตัวเองและผู้อื่น 3. ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้คือ 1) ควรกำหนดให้การจัดการความรู้(KM) เป็นหนึ่งในนโยบายของหน่วยงาน โดยต้องมีการกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาที่ชัดเจนรวมถึงมีการติดตาม ประมวลผลอย่างเป็นรูปธรรม และควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรทั้งภายในและภายนอกศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ฯ เพื่อการเพิ่มพูนความรู้และส่งเสริมให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้ผู้ที่ไม่เข้าใจการจัดการความรู้สามรถเรียนรู้และเข้าใจวิธีการได้อย่างทั่วถึง 2)จัดฝึกอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้(KM) แก่บุคลากรภายในศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ ฯ เพื่อให้เห็นความสำคัญและนำไปปฏิบัติในหน่วยงานอย่างจริงจังและสร้างความเข้าใจ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เรื่องการจัดการความรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การบริหารองค์ความรู้
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง -- ไทย -- ชลบุรี
dc.title การจัดการความรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียงด้านเกษตรธรรมชาติ : กรณีศึกษาของศูนย์การเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Knowledge mngement for sufficiency economy philosophy relting to nturl griculture : cse study of lerning center of the new theory, mphoe stthip, chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this qualitative study were to examine a current implementation of Sufficiency Economy Philosophy in relation to natural agriculture and to investigate knowledge management of Sufficiency Economy relating to natural agriculture implemented by the learning center for the New Theory, located in Amphoe Sattahip, Chon Buri Province. An in-depth interview technique was used to collect the data from 20 employees, working for the learning center of the New Theory, who have implemented the new theories. The collected data were verified for their validity, reliability, and accuracy by a triangulation technique. Also, a content analysis technique was used to analyze the collected data. The results of the study were as follows: 1. It was found that the learning center has implemented Sufficiency Economy Philosophy in relation to natural agriculture in 5 tasks. These included soil improvement, production of fertilizer and pesticide, earth-worm raising for waste elimination and fertilizer production, natural vegetation, and conservation of seeds for natural agriculture. The implementation of the New Theory increased the employee’s level of knowledge and enhanced their learning 2. Regarding knowledge management, it was shown that the subjects at the learning center had set their goals for knowledge management, including the development of people, work, and organizations. There were exchanges of knowledge both inside and outside the learning center. These included the trainings from teachers, teaching from seniors to juniors, taking study field trips, discussing and exchanging ideas with people visiting the learning center, recalling and note-taking, self-created knowledge and knowledge gained from others. 3. Based on the results from this study, it was suggested that knowledge management (KM) should be included as one of the policies of the learning center with clear length of implementation and a concrete evaluation. Also, there should be an exchange of ideas among people, working for the learning center and outsiders in order to continuously increase and enhance their level of knowledge, especially among those who have not had full understanding of knowledge management. Furthermore, there should by trainings for staff in the learning center on how to conduct knowledge management. These trainings could help to raise their awareness of the importance of knowledge management. This might result in the implementation, communication, and better understanding of knowledge management.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account