DSpace Repository

การรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของพนักงานบริษัทในเครือเอเออี

Show simple item record

dc.contributor.advisor กาญจนา บุญยัง
dc.contributor.author นีลัมพร แต่งตั้ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:17:49Z
dc.date.available 2023-05-12T03:17:49Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6695
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม การรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม เปรียบเทียบการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาควาสัมพันธ์ระหว่างปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกับการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของพนักงาน ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้จัดการและพนักงานบริษัทในเครือเอเออี จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแทนสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุไม่เกิน 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และปริญญาตรี พนักงานเป็นระดับปฏิบัติการมากที่สุด ร้อยละ 44.68 ตำแหน่งวิศวกร ร้อยละ 31.91 และช่างเทคนิคร้อยละ 31.91 รายได้อยู่ระหว่าง 10,001-25,000 บาท ระยะเวลาในการเป็นผู้ประกันตน 1-3 ปี ภายใน 1 ปี พนักงานร้อยละ 55.32 เคยขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนทั้ง 7 กรณีของสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมโดยพนักงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.97 ของบริษัทมีการรับรู้ข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมในระดับน้อย เมื่อพิจารณาจากข้อคำถาม 17 ข้อ พบว่า สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ สิทธิประโยชน์สิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ พนักงานมีการรับรู้น้อย มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ที่ 6.07 คะแนน และผู้ประกันตนที่มีเพศอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้ระยะเวลาในการเป็นผู้ประกันตน จำนวนครั้งที่ขอรับประโยชน์ทดแทนทั้ง 7 กรณี และปัญหาการรับรู้ข้อมูลสิทธิประโยชน์กองประกันสังคม แตกต่างกันมีระดับการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมแตกต่างกัน และปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของพนักงาน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กองทุนประกันสังคม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
dc.title การรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของพนักงานบริษัทในเครือเอเออี
dc.title.alternative The wreness of benefits of socil security fund mong employees working for e compny group
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to examine the problems of accessing to the information about benefits of social security fund and to investigate a level of awareness of social security benefits. Also, this study attempted to compare the of awareness of social security benefits as classified by personal factors and to determine the relationship between the problems of accessing to the information on social security fund and the level of awareness of social security benefits among the employees. The population of this study was 141 employees, working for AAE company group. They included the administrators, managers, and staff. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistical tests used to analyze the collected data included data included frequency, percentage, means, and standard deviation. To test the research hypothesis, the test of pearson product moment coefficient was used. The results of the study revealed that the majority of the respondents were, aged not more than 30 years old, being single, and having an education lower or equivalent to a bachelor’s degree. Also, most of the subjects were employees at a practitioner level (44.68%), engineers (31.91%),and technicians (31.91%) with a monthly income of 10,001-25,000 baht. These subjects had been insured people for 1-3 years. Within one year, these subjects had claimed for compensatory benefits for all seven cases as offered by social security fund. Also, it was shown that 43.97% of the subjects demonstrated a low level of awareness of benefits offered by social security fund. Based on 17 questions, the subjects showed a low level of beneficiaries’ awareness (6.07 points) in relation to disability, death, and aging In addition, it was found that there were differences in the level of awareness of benefits of social security security fund among the subjects who had different gender, age, status, educational level, work position, amount of income, length of income, length of being an insured person, numbers of claims for compensations for 7 cases, and problems of accessing to the information about benefits of social security fund. Fund. Finally, no relationship was found between the problems of accessing to the information on social security fund and the level of awareness of social security benefits among the employees.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารทรัพยากรมนุษย์
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account