Abstract:
ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่มายาวนาน ใช้ชีวิตทำงานหนัก เลี้ยงลูกหลานเกือบตลอดชีวิต สุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมโทรม และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งสุขภาพกาย จิต และสังคม จึงควรมีการดูแล และได้รับการเอาใส่ สนับสนุนจากสังคม เพื่อยืดชีวิตอย่างมีคุณภาพให้ยาวนานที่สุด ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพกับคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 280 คน ซึ่งสุ่มมาจากผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางผึ้ง อำเภอบางปะกง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุและมีผลวัด ADL 12 คะแนนขึ้นไป ข้อมูลเก็บด้วยวิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระหว่าง 1-30 มิถุนายน 2560 และวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากเป็นผู้หญิง (61.1%) อายุเฉลี่ย 71.36 ± 8.04 ปี สมาชิกครอบครัวมี 3-4 คนร้อยละ 39.3 ผู้ดูแลเป็นญาติร้อยละ 99.3 คะแนน ADL 17-19 ร้อยละ 76.1 มีโรคประจำตัวร้อยละ 48.9 ในจำนวนนี้เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 83.9 ผู้อายุมีการสนับสนุนทางสังคมโดยรวม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.6 มีการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐมากสุด รองลงมา วัด ญาติ อสม. และเพื่อน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.5, 74.6, 72.9, 70.4 และ 52.5 ตามลำดับ มีคุณภาพชีวิตโดยรวม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.0 มีคุณภาพชีวิตทางสังคมมากสุด รองลงมา สิ่งแวดล้อม ทางร่างกาย และทางจิตใจ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.2, 80.0, 75.2 และ 70.3 ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตสัมพันธ์กันเชิงบวก (r = 0.48 p< 0.01) โดยรวมการสนับสนุนจากญาติ เพื่อน วัด อสม. และหน่วยงานรัฐ กับคุณภาพชีวิตโดยรวม สัมพันธ์กันเชิงบวกให้สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ 0.32, 0.30, 0.44, 0.27 และ 0.44 ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนให้มากขึ้น