DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสร้างเสริมสุขภาพกับการออกกำลังกายของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

Show simple item record

dc.contributor.advisor วัลลภ ศัพท์พันธุ์
dc.contributor.author อุทัย ทับทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:14:55Z
dc.date.available 2023-05-12T03:14:55Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6652
dc.description งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเป็นการลงทุนทางสุขภาพที่ต่ำสุด และได้ประโยชน์มาก ทั้งต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม รวมทั้งช่วยลดภาระของรัฐในการดูแลรักษาสุขภาพประชาชน นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จบแล้วต้องไปทำงานเป็นบุคลากรสุขภาพ เป็นตัวแบบในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้ประชาชน การศึกษาครั้งนี้จึงต้องหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสร้างเสริมสุขภาพกับการออกกำลังกายของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา 176 คน ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1-4 ทั้งสามหลักสูตรของวิทยาลัย ข้อมูลถูกเก็บภายในห้องเรียนด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยายและสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนมากเป็นนักศึกษาหญิง (76.1%) ศึกษาในหลักสูตรเวชระเบียน (55.1%) รองลงมาเป็นหลักสูตรการแพทย์แผนไทย (34.1%) และหลักสูตรโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์ (10.8%) เรียนชั้นปีที่ 1 จำนวนมากสุด (39.8%) ชั้นปีที่ 2 รองลงมา (30.1%) ที่เหลือเรียนชั้นปีที่ 3 (15.9%) และชั้นปีที่ 4 (14.2%) เคยเป็นนักกีฬา (35.8%) และมีดัชนีมวลกายท้วม (19.9%) นักศึกษามีแรงจูงใจในการสร้างเสริมสุขภาพระดับปานกลาง ( = 108.2, SD = 12.9, % = 67.6) โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือรับรู้ความรุนแรง ( = 28.3, SD = 3.7, % = 70.7) รองลงมาคือ ความคาดหวังผลลัพธ์ ( = 27.0, SD = 4.3, % = 67.5) ความคาดหวังความสามารถ ( = 26.6, SD = 4.2, % = 66.5) และรับรู้โอกาสเสี่ยง ( = 26.4, SD = 3.6, % = 66.0) การออกกำลังกายสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจในการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม (r = 0.173, p = .022) เมื่อแยกรายด้านพบว่า การออกกำลังกายสัมพันธ์เชิงบวกกับความคาดหวัง ในผลลัพธ์ (r = 0.238, p = .001) ความคาดหวังความสามารถ (r = 0.162, p = .032) และ การเคยเป็นนักกีฬา (r = 0.201, p = .008) ฉะนั้นจึงควรส่งเสริมให้นักศึกษาออกกำลังกายด้วยการเพิ่มแรงจูงใจในการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject สุขภาพ -- การดูแล
dc.subject การออกกำลังกาย
dc.subject แรงจูงใจในการศึกษา
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสร้างเสริมสุขภาพกับการออกกำลังกายของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
dc.title.alternative The reltionship between motivtion for helth promotion nd exercise of students t the knchnbhishek institute of medicl nd public helth technology
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Promoting health with exercise is the lowest health investment, and very useful both for physical health, mental health and social health. It also helps to reduce the burden of government on public health care. Students at Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology have to work as health workers, as a model for exercise for the health of the people. This study sought to determine the relationship between health promoting motivation and student exercise. The sample consisted of 176 students enrolled in Years 1-4. Data were collected by sending questionnaires to the classroom, and analyzed by descriptive statistics and Pearson’s correlation. Results showed most students were female (76.1%), studying in Medical record program (55.1%) follow by Thai traditional medicine (34.1%) and Medical audiovisual (10.8%). The most students studying in their first year (39.8%) follow by second year (30.1%) , rest third year (15.9%) and four year (14.2%). The student had been an athlete(35.8%) and had plump Body Mass Index (19.9%). The student had motivation for health moderated ( = 108.2, SD = 12.9, % = 67.6), the side with the highest average rating were noxiousness ( = 28.3, SD = 3.7, % = 70.7) , follow by response efficacy ( = 27.0, SD = 4.3, % = 67.5), self- efficacy ( = 26.6, SD = 4.2, % = 66.5) and perceivel probability ( = 26.4, SD = 3.6, % = 66.0). The exercise and motivation to promote overall health had positively correlated (r = 0.173, p = .022) ,separation each side showed the exercise had positively correlated with response efficacy (r = 0.238, p = .001), self-efficacy (r = 0.162, p = .032) and had been an athlete (r = 0.201, p = .008). Therefore, should encourage students to exercise by increasing their motivation to promote health.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account