DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามแผน กับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วัลลภ ศัพท์พันธุ์
dc.contributor.author อาคม มลฑารัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:14:55Z
dc.date.available 2023-05-12T03:14:55Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6651
dc.description งานนิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสู่คน แต่เป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนและหลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมข่วนและกัด แต่ประชาชนยังไม่ตระหนักในการป้องกัน จึงควรส่งเสริมให้ประชาชนตระหนัก และป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามแผนกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน 200 คน ที่เลี้ยงสุนัขและขึ้นทะเบียนสุนัขกับเทศบาลปี 2559 ซึ่งสุ่มมาด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ ข้อมูลเก็บด้วยการส่งแบบสอบถามให้ตอบที่บ้าน ในวันรณรงค์ช่วงเดือนมีนาคม 2560 และวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนมาก (61.5%) เป็นผู้หญิงอายุเฉลี่ย 44.2 ± 13.3 ปีส่วนมาก (67.0%) จบสูงสุดไม่เกินมัธยมปลาย มีอาชีพรับจ้างทั่วไปหรือพนักงานบริษัท (52.5%) มีฐานะเศรษฐกิจครอบครัวพอ ๆ กัน (80.0%) เลี้ยงสุนัขเฉลี่ย 2.1±1.6 ตัวต่อครอบครัว คนในบ้านเคยถูกสุนัขกัด (55.5%) มีพฤติกรรมตามแผนเฉลี่ยร้อยละ 73.3 มีเจตคติที่ดีร้อยละ 76.7 การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเฉลี่ยร้อยละ 73.2 รับรู้ความสามารถควบคุมพฤติกรรมเฉลี่ยร้อยละ 71.6 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 79.3 ลดเสี่ยงสุนัขกัดมากสุด รองลงมาพาสุนัขไปฉีดวัคซีน และป้องกันหลังถูกสุนัขกัด เฉลี่ยร้อยละ 84.6 81.8 และเฉลี่ยร้อยละ 62.5 ตามลำดับ พฤติกรรมตามแผน เจตคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถควบคุมพฤติกรรม กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสัมพันธ์กันเชิงบวกให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.277, 0.257, 0.255 และ 0.139 (p< 0.05) ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการแผน และมีพฤติกรรมการป้องกันหลังถูกสุนัขกัดเพิ่มขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject โรคพิษสุนัขบ้า
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามแผน กับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
dc.title.alternative The reltionship between plnned behvior nd behvior to prevent rebies mong people in pknum-smutprkrn municiplity bngmung sub-district of mung district, smutprkrn province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Rabies is communicable disease from mammal-to-human. This disease that can be prevented with vaccines and avoiding biting mammals. But people are not aware of the protection. It should encourage people to realize and rabies prevention. Therefore, this study sought to determine the relationship between planned behavior and rabies prevention behavior of people in Pak Nam Samutprakarn Municipality, Tambon Bangmuang, Amphoe Muang Samutprakarn. The sample consisted of 200 people who raised dogs and registered dogs with municipalities in 2016, which were randomized by systematic random sampling. Data were collected by submitting a questionnaire to answer at home. On the campaign day of March 2017 and analyzed by percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Correlation. The study found that most people (61.5%) were women with an average age of 44.2 ± 13.3 years. Most (67.0%) finish no higher than high school. There is a general contractor or company employee (52.5%) has a similar family economic status (80.0%). The average dog breed is 2.1 ± 1.6 per family. People in the house were bitten by dogs (55.5%). People had planned behavior at the 73.3 percent of average score, to be positive attitude at the 76.7 percent of average score, subjective norms at the 73.2 percent of average score, and perceived behavioral control at the 71.6 percent of average score. They had overall of the behavior to prevent rabies at the 79.3 percent of average score, to be reduce the risk of dog bites the most. Secondly, take the dog to vaccinate and had a dog bite prevention at the 84.6, 81.8, and 62.5 percent of average score, respectively. Planned behavior, attitude toward behavior, subjective norm and perceived behavioral control, and behavior to prevent rabies positive correlated, given correlation coefficient, 0.277, 0.257, 0.255 and 0.139 (p <0.05), respectively. Therefore, it should encourage people to plan behavior and have protection behavior after being bitten by dogs.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account