DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่ระบุวันหมดอายุสำหรับวัดพุทธ

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุหลาบ รัตนสัจธรรม
dc.contributor.advisor สุนิศา แสงจันทร์
dc.contributor.advisor อนามัย เทศกะทึก
dc.contributor.author ณัจฉรียา คำยัง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:12:21Z
dc.date.available 2023-05-12T03:12:21Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6641
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด. ) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์อาหารที่หมดอายุภายในร้านสะดวกซื้อ และอาหารที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายพระสงฆ์ในวัด และสร้างรูปแบบการจัดการอาหารสำเร็จรูปที่มีฉลากระบุวันหมดอายุภายในวัดพุทธ กลุ่มที่ศึกษา คือเจ้าของร้านสะดวกซื้อ และอาหารที่ระบุวันหมดอายุที่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ 45 ร้าน ผู้มีจิตศรัทธาและอาหารที่ระบุวันหมดอายุที่ในช่วงวันพระและวันปกติที่นำมาถวายพระสงฆ์ จากวัด 33 วัด ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการประชุมกลุ่มเฉพาะ 3 กลุ่ม เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการอาหารของพระสงฆ์ จำนวน 23 คน สัมภาษณ์เชิงลึก จากพระสงฆ์ที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการอาหารภายในวัด 3 กลุ่ม ตามขนาดของวัด จำนวน 9 รูป เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรง ด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 20 รูป/ คน ใช้การวิเคราะห์สถิติด้วยค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ร้านสะดวกซื้อร้อยละ 60 มีอาหารหมดอายุอย่างน้อย 1 ประเภท โดยพบเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทเป็นอาหารที่หมดอายุมาแล้วมากที่สุด คือ 1,973 วัน และอาหารแห้งมีสัดส่วนการหมดอายุมากที่สุด ร้อยละ 5.66 ผลการสำรวจข้อมูลจากวัด พบเครื่องปรุงรสมีจำนวนวันหมดอายุแล้วมากที่สุด 2,155 วันตามลำดับ พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวันของอาหารที่ระบุวันหมดอายุภายในร้านสะดวกซื้อกับจำนวนวันของอาหารที่ระบุวันหมดอายุที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายพระสงฆ์ในช่วงวันพระและวันปกติ โดยวันพระพบความสัมพันธ์ทางบวกในอาหารแห้ง (r = 0.757) รูปแบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่ระบุวันหมดอายุ มีการบูรณาการระบบเป็น 5 รูปแบบย่อย คือ พระสงฆ์จัดการเอง ส่วนกลางของวัดจัดการ มี 5 ขั้นตอน คือ การคัดแยกอาหาร การจัดลำดับอาหารที่คัดแยกแล้ว การตรวจสอบอาหารหมดอายุ การแจกจ่ายอาหารที่ใกล้หมดอายุ และกำจัดอาหารที่หมดอายุแล้ว ส่วนรูปแบบย่อยด้าน เสริมสร้างความรู้พระสงฆ์ และผู้นำอาหารมาถวายพระสงฆ์ รวมทั้งกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ โดยการประกาศเป็นนโยบายการจัดการความปลอดภัยของอาหารสำหรับวัด กำหนดแนวทางการจัดหาบุคคลที่เหมาะสมมารับผิดชอบการปฏิบัติตามนโยบาย และกำหนดเป็นกฎระเบียบหรือข้อบัญญัติให้ทุกวัดจัดทำมาตรการให้สอดคล้องกับคู่มือการจัดการอาหารปลอดภัยภายในวัด ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่ระบุวันหมดอายุสำหรับวัดพุทธต่าง ๆ โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และกิจการพระศาสนา จะช่วยยกระดับความปลอดภัยและผลสัมฤทธิ์ด้านต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject อาหาร -- การเจือปนและการตรวจสอบ
dc.subject อาหาร -- การเก็บและรักษา
dc.subject อารหาร -- อายุการใช้
dc.title การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่ระบุวันหมดอายุสำหรับวัดพุทธ
dc.title.alternative The development of food sfety mngement model with the expiry dte of buddhist temples
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research and development aimed to establish the instant food management model which identify the expired date in the Buddhist temples. Study population consisted were convenient store owners and food with expiry date label in 45 stores, the faithful people and the food with expiry date label that has been offered to monks on Buddhist holiday and regular days in 33 temples. The key informants were from 3 focus group discussions, including 23 people who involved in managing the food in temple. The in-depth interview of 9 monks who had responsibility of the food management in 3 group of temples, which classified by the size of worship Delphi technique was performed in 20 experts who had the direct experience. The statistical analysis were median, inter-quartile range and the content analysis. The research finding were; 60% of the convenient stored had at least on type of food expired. Closed-container beverages were found expired in the longest length of time, which was 1,973 days. Dried food was found to be the most proportional expired by 5.66%. The survey at temples showed that seasoning were found expired in the longest length of time, which was 2,155. There were a correlation between expiry date food in convenient stores and expiry date food offered to the monks on Buddhist holy days and regular days. Positive correlation was found on Buddhist holy days in products made dried food (r =0.757) The food safety management model with the expiry date were integrated in 5 subordinated which are managing by monks, managing by temple central had 5 steps as follows; food separation, prioritizing the separated food, inspecting the expired food, distributing the nearly expired food and terminated the expired food. The subordinated model of knowledge engagement in monks and the food offering people, included the determining of the public policy, will be performed by announcement the food safety management policy for temple. Assignment of the guideline to obtain the suitable person who has responsibility of following the given policy and define the rule and regulation for every temples to practice in the standard relevant to the food safety management manual in temple. The result can be used as the guideline for the expired date food safety management for Buddhist temples by cooperated with the government and private sector and the religious affairs. This will more completely enhance of the safety level and other achievement in Buddhism.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account