dc.contributor.advisor |
ชิงชัย เมธพัฒน์ |
|
dc.contributor.advisor |
อนามัย เทศกะทึก |
|
dc.contributor.author |
ภาณุวัฒน์ เชิดเกียรติกูล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:12:18Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:12:18Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6625 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยในการป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงของเกษตรกรสวนผลไม้ อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีการดำเนินการ 2 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างโปรแกรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงร่วมกับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรสวนผลไม้จำนวน 258 คน และ 2) เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลง กับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรสวนผลไม้ จำนวน 35 คน ทำการเก็บข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 10) โดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์ร่วมกับการใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมทของเกษตรกรสวนผลไม้ เป็นกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในรูปแบบการบรรยายให้ความรู้ การประชุมกลุ่ม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงจากการสัมผัสสารกำจัดแมลง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลง การลดอุปสรรคในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการใช้สารกำจัดแมลง และการรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลง โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ สไลด์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย วีดิทัศน์ และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลง ภายหลังจากการเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัย พบว่า ระยะหลังการทดลอง (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 10) เกษตรกรสวนผลไม้ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ในการป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงก่อนใช้ ขณะใช้ และหลังการใช้สารกำจัดแมลง ในระยะหลังการทดลอง (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 10) เพิ่มขึ้นมากกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่าโปรแกรมความปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดแมลงที่ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมความปลอดภัยนี้ไปปรับใช้กับเกษตรกรในพื้นที่อื่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการปฏิบัติตัวในการป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอานามัยและความปลอดภัย |
|
dc.subject |
ยาฆ่าแมลง |
|
dc.subject |
ยากำจัดศัตรูพืช |
|
dc.subject |
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
|
dc.title |
โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมท ของเกษตรกรสวนผลไม้ อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี |
|
dc.title.alternative |
Progrm for sfety behvior modifiction to prevent the risk exposure of orgnophosphte nd crbmte insecticides mong fruit frmers in keng hng meo district, chnthburi province thilnd |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research using a quasi-experimental design to examine the effectiveness of a program for safety behavior modification to prevent risk of exposure to organophosphate and carbamate insecticides among fruit farmers in Kaeng Hang Maeo district, in the Thai province of Chanthaburi. The study comprised of two phases: first, the development of a model for modifying safety behavior to prevent risk exposure to organophosphate and carbamate insecticides, based on data gathered among 258 fruit farmers. Second, the evaluation of this interventional model was conducted by pretest and posttest single group design applied among 35 fruit farmers. Data were collected by questionnaires both before and after implementation of the model intervention; follow-up tests were applied during the 4thand the 10th week. The first phase of the study led to the formulation of an experimental safety behavior modification program to prevent risk exposure to organophosphate and carbamate insecticide among fruit farmers. The program included participatory action training, group discussions, demonstrations and practices, which covered crucial topics such as perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, perceived barriers and perceived self-efficacy. The results of the second phase revealed that after program intervention at the 4th week and the 10th week, fruit farmers had significantly increased the average scores regarding perceived susceptibility, and perceived severity of insecticide poison, perceived benefits of performing prevention, perceived barriers and perceived self-efficacy than during the pretest of the program intervention (p<0.001). In addition, after intervention at the 4th week, and the 10th week of follow up, the fruit farmers had average scores of risk prevention behaviors related to exposure to insecticides that were significantly higher than the average scores pre-intervention (p<0.001). In conclusion, this study found that the implementation of a safety behavior modification program significantly improved the safety behaviors related to insecticides use. Thus, it is recommended that relevant governmental agencies make use of this intervention program in other areas to reduce agricultural workers’ risk of exposure to insecticides. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อานามัยและความปลอดภัย |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|