Abstract:
การศึกษาได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2543 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2544 โดยการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแนวปะการังด้วยวิธี Line Intercept Transect ร่วมกับการถ่ายภาพใต้น้ำด้วยกล้องวิดีทัศน์ และตรวจวัดคุณภาพน้ำในแนวปะการังใน 5 สถานีศึกษารอบเกาะสีชัง ได้แก่แนวปะการังเกาะท้ายตาหมื่น หินกองกระโทน อ่าวถ้ำพัง หินสัมปันยื้อ และเกาะร้านดอกไม้ ในระยะเวลา 1 ปี พบว่าสภาพแนวปะการังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่สามารถตรวจวัดได้ และแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยคุณภาพน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการอนุรักษ์แนวปะการัง แต่พบว่ามีการตกตะกอนในแนวปะการัง ในอัตราเฉลี่ยในรอบปีที่สูงถึง 444 - 883 กรัม/ตารางเมตร/วัน ซึ่งเป็นระดับที่น่าจะส่งผลในทางลบต่อการเจริญของปะการังแข็ง และการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาในแนวปะการัง
ส่วนการศึกษาถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการครอบคลุมพื้นที่ของพรมทะเลชนิด Palythoa caesia ในสถาวะควบคุมกึ่งธรรมชาติและคุณภาพน้ำในแนวปะการัง พบว่าอัตราการเพิ่มพื้นที่ของพรมทะเลบนชุดทดลองโดยใช้แผ่นกระเบื้องมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.9-4 ตารางเซนติเมตร/เดือน และมีความสัพัณธ์เชิงบวกอย่างยิ่ง กับอัตราการตกตะกอน และปริมาณตะกอนแชวนลอยในน้ำ อย่างไรก็ตามการประยุกต์ใช้การครอบคลุมพื้นที่ของพรมทะเลเพื่อบงชี้สภาพแนวปะการังยังคงมรข้อจำกัด