DSpace Repository

โครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในหนองหารจังหวัดสกลนคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิชญา กันบัว
dc.contributor.advisor ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
dc.contributor.advisor นิศาชล ฤาแก้วมา
dc.contributor.author วิสิทธิ์ฎา อึ้งเจริญสุกาน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:12:14Z
dc.date.available 2023-05-12T03:12:14Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6608
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract จากการศึกษาโครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในหนองหาร จังหวัดสกลนคร ทั้งหมด 5 ครั้งในเดือนมิถุนายน เดือนกันยายน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เดือนเมษายน และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 จำนวนทั้งสิ้น 8 สถานี ทำการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนด้วยการตักน้ำกรองผ่านถุงกรองแพลงก์ตอนขนาดช่องตา 20 ไมโครเมตร พร้อมทั้งทำการตรวจวัดพารามิเตอร์คุณภาพน้ำ พบ แพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 65 สกุล 3 ดิวิชั่น ได้แก่ ดิวิชั่น Chlorophyta (สาหร่ายสีเขียว) 42 สกุล ดิวิชั่น Chromophyta (สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง) 12 สกุล และดิวิชั่น Cyanophyta (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) 11 สกุล โดยพบสาหร่ายสีเขียวเป็นกลุ่มเด่น ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชรวมเฉลี่ย 4,726 เซลล์ต่อลิตร ค่าดัชนีความมากชนิดของแพลงก์ตอนพืช มีค่าอยู่ในช่วง 1.62 ถึง 5.57 ค่าดัชนีความสม่ำเสมอมีค่าอยู่ในช่วง 0.32 ถึง 0.87 และค่าดัชนีความความหลากหลายมีค่าอยู่ ในช่วง 1.15 ถึง 3.16 แพลงก์อนสัตว์พบทั้งหมด 3 ไฟลัม ได้แก่ ไฟลัม Rotifera (โรติเฟอร์) ไฟลัม Arthropoda (ตัวอ่อนของสัตว์น้ำ โคพีพอด และไรน้ำจืด) และไฟลัม Protozoa (โปรโตซัว) โดยพบโปรโตซัวเป็นกลุ่มเด่น ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์รวมเฉลี่ย 819 ตัวต่อลิตร เมื่อวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยวิธี Principal Component Analysis (PCA) นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม แต่สามารถอธิบายได้ว่า โดยรวมโครงสร้างของแพลงก์ตอนในหนองหาร จังหวัดสกลนครส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกันทั้งในแต่ละสถานีและช่วงเวลาที่ทำการศึกษาและพบ มีความแตกต่างบางช่วงเวลา ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์คุณภาพน้ำบางประการ ได้แก่ ออร์โธฟอสเฟต ปริมาณตะกอนแขวนลอยในน้ำปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำความเป็นกรด-ด่าง การนำไฟฟ้า และความเป็นด่าง ที่ส่งผลต่อโครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในหนองหาร จังหวัดสกลนคร คุณภาพน้ำส่วนใหญ่จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับสัตว์น้ำ และเมื่อพิจารณาร่วมกับโครงสร้างของสายใยอาหารในหนองหาร พบว่าระบบนิเวศภายในหนองหารนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากพบความหลากหลายของแพลงก์ตอนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในสายใยอาหาร อีกทั้งยังพบว่า แพลงก์ตอนขนาดเล็กมีบทบาทและความสำคัญในสายใยอาหารเช่นเดียวกับแพลงก์ตอนขนาดใหญ่
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แพลงก์ตอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์
dc.title โครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในหนองหารจังหวัดสกลนคร
dc.title.alternative Plnkton community structure in nong hn, skon nkhon province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The plankton community structure in Nong Han, Sakon Nakhon province was studied. The 8 samples were collected from 8 stations in 2016 (June, September, December) and 2017 (April and June) by using ŚŘ µm mesh size plankton net. The total of 65 genera, belonging to 3 divisions of phytoplankton were encountered including Division Chlorophyta (Green algae) Chromophyta (Golden-brown algae) and Cyanophyta (Blue-green algae) with Ŝ2, ř2 and ř1 genera, respectively with the most diverse group of Green algae. The average total of phytoplankton density was 4,726 cell l-1 with the range of richness, evenness and diversity index were 1.62 - 5.57, 0.32 - 0.87 and 1.15 - 3.16, respectively. The 3 groups of zooplankton were recognized, including Phylum Rotifera, Arthropoda and Protozoa in ŝ groups: Rotifer, Nauplius, Cladocera, Copepod and Protozoa, respectively which Protozoa was the dominant group. The average total of zooplankton density was 819 individual l-1 . The group analysis by Principal Component Analysis (PCA), could have divided into 4 groups, but the similarity of the community structure of plankton in Nong Han, Sakon Nakhon in each station and time of study could be explained. The differences could occasionally be found due to the changes of some water quality parameters such as orthophosphate, total suspended solid, dissolved oxygen, pH, conductivity and alkalinity which could affect the community structure of plankton in Nong Han, Sakon Nakhon. The water quality was mostly classified as the surface water quality standard of class 2 and suitable for the aquatic animals. When considering with the structure of the planktonic food web, it was found that the ecosystem within the mound was fertile, because of the diversity of plankton (Picoplankton, Nanoplankton and Microplankton) which played the role and importance in food web as well as in Microplankton.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วาริชศาสตร์
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account