DSpace Repository

ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนทะเลบริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ปี 2551-2553

Show simple item record

dc.contributor.author จิตรา ตีระเมธี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:00Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:00Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/659
dc.description.abstract จากการศึกษาความหลากหลายทางชนิดของแพลงก์ตอนทะเลบริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้ เกาะจวง เกาะจาน และเกาะโรงโขนโรงหนัง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 พบแพลงก์ตอนพืชทะเลทั้งสิ้น 91 สกุล ไม่น้อยกว่า 206 ชนิด ไดอะตอมมีความหลากหลายชนิดสูงสุดอยู่ในอันดับ Biddulphiales วงศ์ Chaetoceraceae 2 สกุล 33 ชนิด รองลงมาคือ วงศ์ Rhizosoleniaceae 5 สกุล 20 ชนิด และไดโนแฟลเจลเลทที่มีความหลากหลายชนิดสูงสุดอยู่ในอันดับ Gonyaulacales วงศ์ Ceratiaceae 1 สกุล 17 ชนิด สำหรับสกุลที่มีความหลากหลายชนิดสูง คือ Chaetoceros, Ceratium และ Rhizosolenia เท่ากับ 27, 17 และ 12 ตามลำดับ พบแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งสิ้น 41 สกุล ไม่น้อยกว่า 68 ชนิด นอกจากนี้ยังพบระยะวัยอ่อนของแพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งรวมถึงระยะวัยอ่อนของสัตว์ทะเลที่ดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนและที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้รวม 28 กลุ่ม ไฟลั่มอาร์โธรโพดาเป็นไฟลั่มที่พบจำนวนชนิดมากที่สุด พบ 22 สกุล ไม่น้อยกว่า 44 ชนิด รองลงมาคือ โปรโตซัว 9 สกุล ไม่น้อยกว่า 14 ชนิด และไนดาเรีย 3 สกุล ไม่น้อยกว่า 3 ชนิด ตามลำดับ จากการศึกษาปริมาณความชุกชุมของแพลงก์ตอนทะเลบริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้ และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยในปีแรกของการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 พบปริมาณแพลงก์ตตอนพืชทะเลรวม มีค่าอยู่ระหว่าง 10,154-137,890 หน่วยต่อลิตร และความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ทะเลรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 18,478-174,409 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ในปีที่ 2 ของการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พบปริมาณแพลงก์ตอนพืชทะเลรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 5,676-137,279 หน่วยต่อลิตร และความชุกชุมของแพลงก์ตออนสัตว์ทะเลรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 29,868-99,316 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และในปีที่ 3 ของการศึกษา ในระหว่างเดือนมากราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พบปริมาณแพลงก์ตอนพืชทะเลรวมมีค่าอยู่ระหว่าง 6,649-139,135 หน่วยตอลิตร และความชุกชุมของแพลงก์ตอนสัตว์ทะเลมีค่าอยู่ระหว่าง 18,559-86,398 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับแพลงก์ตอนทะเลที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิดที่พบมีการแพร่กระจายทั่วไปในเขตร้อนและเคยมีรายงานการพบในอ่าวไทยมาก่อนหน้านี้ และจากข้อมูลความหลากหลายทางชนิดของแพลงก์ตอนทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลหาดนางรอง และเกาะจระเข้ ในการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมของพื้นที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่พื้นที่ศึกษาดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกองทัพเรือ จึงไม่ได้รับการรบกวนจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ไม่มีการทำการประมง และใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว เป็นต้น จึงส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแพลงก์ตอนสัตว์ทะเลซึ่งรวมถึงสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น ๆ ด้วย th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) สถาบันวิทยาศาตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2551-2553 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล th_TH
dc.subject แพลงค์ตอนพืชทะเล - - ไทย - - ชลบุรี th_TH
dc.subject แพลงค์ตอน - - การวิจัย th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนทะเลบริเวณหาดนางรอง เกาะจระเข้และกลุ่มเกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ปี 2551-2553 th_TH
dc.title.alternative Biodiversity of Marine Planktons in Had Nang-Rong, Jorake Islands and Juang Islands, Amphur Sattahip, Chon Buri Province en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2554


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account