dc.contributor.advisor | บรรพต วิรุณราช | |
dc.contributor.author | ลดารัตน์ บุญสุข | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:08:59Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:08:59Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6594 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยหลักที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านทันตกรรมในภูมิภาคอาเซียน (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการใช้บริการทันตกรรมในประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านทันตกรรมของประเทศไทยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed research) ประกอบด้วย วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 22 คน การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยเชิงบรรยาย (Descriptive) และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 480 คน และยืนยันผลการวิจัยโดยการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มารับบริการทันตกรรมจริงในโรงพยาบาล จำนวน 5 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลทันตแพทย์นักธุรกิจนักลงทุน จำนวน 6 คน โดยใช้เครื่องมือสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Content analysis) และทำการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยนำแบบสอบถามถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มารับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมจำนวน 480 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ One-way ANOVA (F-test) และนำไปเปรียบเทียบเชิงซ้อน (Multiple comparison) ทดสอบความแตกต่างตามสมมติฐาน (Least significant difference: LSD) โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 21สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตามวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยหลักที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านทันตกรรมในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) นโยบายรัฐบาล (2) การสื่อสารทางการตลาด (3) กลยุทธ์การตลาด (4) กลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (4.1) บุคลากร (4.2) งบประมาณ (4.3) เทคโนโลยีสารสนเทศ (4.4) การจัดการ (5) ด้านมาตรฐานทันตกรรม (5.1) ทันตแพทย์ (5.2) เครื่องมือและเทคโนโลยี (5.3) สถานที่ให้บริการ (5.4) ทักษะด้านภาษา (5.5) ราคา (5.6) สิ่งอำนวยความสะดวก(5.7) การแสดงออกถึงน้ำใจไมตรี (6) คุณภาพการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพบริการขององค์กรด้านบริการสุขภาพ วัตถุประสงค์ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการใช้บริการทันตกรรมในประเทศไทย พบว่า มาตรฐานด้านทันตกรรมอยู่ในระดับดีคุณภาพบริการขององค์กรด้านบริการสุขภาพอยู่ในระดับดี วัตถุประสงค์ 3 เพื่อศึกษากการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ด้านทันตกรรมของประเทศไทย พบว่า จุดได้เปรียบในการแข่งขัน ส่งผลต่อมุมมองภาพรวมทันตกรรมประเทศไทยนัยสำคัญ 0.01 การรับรู้จุดได้เปรียบในการแข่งขัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกที่นัยสำคัญ 0.01การรับรู้มาตรฐานทันตกรรม (Standard) และการรับรู้การพัฒนาคุณภาพบริการขององค์กรด้านบริการสุขภาพ MBNQA มีความสัมพันธ์เชิงลบ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ทันตกรรม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก | |
dc.subject | ศูนย์การแพทย์ | |
dc.title | การศึกษาปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ด้านทันตกรรมในภูมิภาคอาเซียน | |
dc.title.alternative | The study of min fctors driving strtegies for thilnd s dentl hub in the sen, region | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study (1) the main factors that would drive Thailand to become a dental hub in ASEAN Region, the perceptions of foreign tourists on the use of dental services in Thailand, the development of competitive advantage of Thai dental competency. Mixed research consisting of qualitative research methodology and quantitative methodology was used. To qualitative research study, in-depth interviews were conducted with 22 key informants. Quantitative research consisted of descriptive research and survey research, and the data were collected from 480 samples. To confirm the results, 5 foreign tourists receiving dental care services in the hospital were interviewed. Moreover, the total of 6 people, namely administrators of the hospital, dentists, business people or investors, was interviewed. Using the tools of synthesis of data from interview (Content analysis), the researcher synthesized the data. To the quantitative research, the data from the questionnaire of 480 patients who received dental care services in the hospital were analyzed. The statistics used for data analysis consisted of percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA (F-test), and multiple comparison. Least significant difference (LSD) was used to test the differences of the syntheses. SPSS for Windows Version 21 was used for statistical analysis. According to objective 1 which was to study the key factors that would drive Thailand to become a dental hub in ASEAN Region, it was found that the main factors were (1) government policy; (2) marketing communication; (3) marketing strategy; (4) mechanisms to drive the strategies: (4.1) personnel, (4.2) budget, (4.3) information technology, (4.4) management; (5) dental standards: (5.1) dentists, (5.2) tools and technology (5.3)place, (5.4), language skills, (5.5) price, (5.6) facilities, (5.7) expression of hospitality; (6) quality management to improve the quality of healthcare organizations. According to objective 2 which was to study the preceptions of foreign tourists in the use of dental care services in Thailand, it was found that dental was in good standard and the service quality of Health Services Organizations were at a good level. According to objective 3 which was to study the development of dental competitive advantage, it was found that a competitive advantage resulted in perspective of Thai Dental Implications at the significance level of 0.01. The perceived competitive advantage was positively correlated with perceived standard of the quality of dental care services at the significance level of 0.01. However, it was negatively correlated with perceived service development in Health Service Organizations concerning Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การจัดการสาธารณะ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |