dc.contributor.advisor | กนก พานทอง | |
dc.contributor.advisor | ประวิทย์ ทองไชย | |
dc.contributor.author | อรอุมา บุญพูน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:08:58Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:08:58Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6591 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของถนนสร้างใหม่เพื่อการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของถนนฯ จําแนกตามเพศ อาชีพหลัก และภูมิลําเนา กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกในชุมชน นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่ใช้บริการถนนเพื่อการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล จํานวน 880 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลแต่ละกลุ่ม จํานวน 17 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวน (ANOVA) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1. ถนนสร้างใหม่เพื่อการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อประชาชน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว โดยผลกระทบทางบวก พบว่า การคมนาคมขนส่งสะดวกสบายขึ้น คนในชุมชนประกอบอาชีพหลากหลายทําให้รายได้สูงขึ้น คนในท้องถิ่นได้ออกกําลังกายสุขภาพแข็งแรง มีวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองมากขึ้น นอกจากนถนนสร้างใหม่ฯ ทําให้เกิดอาชีพใหม่ด้านธุรกิจการท่องเที่ยวมากขึ้น มีสถานประกอบการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เกิดผู้ประกอบการใหม่มากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ถนนสร้างใหม่ฯ ส่งผลกระทบทางลบ ได้แก่ เกิดอุบัติเหตุในชุมชนมากขึ้น การจราจรหนาแน่น เพิ่มมลพิษทางอากาศ และค่าครองชีพสูงขึ้น 2. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของถนนสร้างใหม่จําแนกตามเพศ อาชีพหลัก และภูมิลําเนา ปรากฏว่า เพศแตกต่างกันความคิดเห็นเกี่ยวผลกระทบด้านเศรษฐกิจ แตกต่างกัน (p < .05) ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน อาชีพหลักแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ผลกระทบด้านประชาชน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการท่องเที่ยวแตกต่างกัน (p < .05) ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน ภูมิลําเนาแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบด้าน ประชาชน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน (p < .05) ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ถนน -- การออกแบบและการสร้าง | |
dc.subject | การท่องเที่ยว | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.title | การวิเคราะห์ผลกระทบของถนนสร้างใหม่เพื่อการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย | |
dc.title.alternative | An nlysis of the impcts of new scenic route long the estern sebord of thilnd | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to 1) evaluate the impacts of a new scenic route along the eastern seaboard, and 2) to compare opinions regarding the impacts of the new route by gender, occupation, and domicile. The sample consisted of 880 people who had used the route, including community members, tourists, and entrepreneurs. In addition, seventeen key informants in each group were recruited for interviews. Questionnaires and semi-structured interviews were used to collect the qualitative data. Data were analyzed by descriptive statistics, t-tests, and ANOVA. The qualitative data were analyzed by a content analysis. The results were as follows: 1. The new scenic route along the eastern seaboard had both positive and negative impacts on citizens, the community, the economy, the environment, and on tourism. Positive impacts were found to relate to comfort and to income: drivers found the route to be easy to drive, and local business people reported increased income. Local people reported more time for exercise, and indicated an appreciation of exposure to some of the cultural characteristics of the city dwellers using the route. Furthermore, the new scenic route resulted in the creation of new employment opportunities in the tourism sector, contributing a greater economic status to the community. However, the new scenic route also presented some negative impacts; these included an increase in traffic accidents and traffic jams, increased air pollution, and a rise in the cost of living. 2. Opinions regarding the impacts of the new route by gender, occupation, and domicile revealed statistically significant differences between genders regarding the economic impact (p < .05). There were differences by occupation level when looking at the human, economic, social, and touristic impacts (p < .05). Moreover, there were significant differences by domicile on human, economic, and environment impacts (p < .05). | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |