dc.contributor.advisor |
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ |
|
dc.contributor.advisor |
บุญเลิศ ส่องสว่าง |
|
dc.contributor.author |
ณัฐกานต์ เกาศล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:01:50Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:01:50Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6559 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการสร้างเรือ ศึกษาความสัมพันธ์ของเรือกับวิถีชีวิตพื้นบ้านภาคกลางและบทบาทของเรือที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมไทยภาคกลางในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 10 จังหวัด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านการสร้างเรือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้านการใช้เรือในชีวิตประจําวันและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลบทบาทของเรือในปัจจุบัน เก็บข้อมลโดยใช้การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้างเรือจากเดิมเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นบรรพบุรุษถ่ายทอดให้กับลูกหลาน และจากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรง เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปภูมิปัญญาได้รับการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบในสถาบันการศึกษา ผู้มีความรู้ในการต่อเรือไม้และประกอบอาชีพต่อเรือไม้มีจํานวนน้อย เรือถูกพัฒนาให้ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้งานมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงด้านวัสดุและเทคโนโลยีที่นํามาใช้กับเรือ ความสัมพันธ์ของเรือกับวิถีชีวิตพื้นบ้านในอดีต เรือมีความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจเป็นพาหนะในการคมนาคม ขนส่งสินค้าไปค้าขายกับต่างประเทศ เรือมีความสัมพันธ์ด้านการเมือง การปกครอง เรือมีความสัมพันธ์ ด้านคติความเชื่อและศาสนา เนื่องจากชาวบ้านมีความเชื่อในเรื่องแม่ย่านางเรือ เรือมีความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมประเพณีทั้งประเพณีราษฎร์และประเพณีหลวง บทบาทของเรือที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม ปัจจุบันเรือมีบทบาทด้านสังคม และวิถีชีวิตเนื่องจากชาวบ้านยังคงใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางในชีวิตประจําวัน เรือมีบทบาท ด้านเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทําการประมงพื้นบ้าน ขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากและมีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชน เรือมีบทบาทด้านวัฒนธรรมประเพณี คือ ประเพณีการแข่งเรือยาวและประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค เรือมีบทบาท ด้านการท่องเที่ยวคือ ตลาดน้ำการท่องเที่ยวทางเรือ การล่องเรือทานอาหาร |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา |
|
dc.subject |
เรือ |
|
dc.subject |
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย (ภาคกลาง) |
|
dc.subject |
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- แง่สังคมวิทยา |
|
dc.subject |
ภูมิปัญญาชาวบ้าน |
|
dc.title |
เรือ : ภูมิปัญญากับวิถีชีวิตพื้นบ้านและบทบาทในสังคมไทยภาคกลาง |
|
dc.title.alternative |
Bots: locl wisdom reltions with folk life nd socil role in centrl region of thilnd |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The research aimed firstly to study local wisdom of boat building, secondly to find out the relation of boats and way of life of people in the central part of Thailand, and lastly to describe the changing role of boats in the diverting social context of the central part of Thailand which included 10 provinces of the Chao Phraya Basin. The data were collected from 3 groups of people regarding the fields of information: 1) boat building, 2) boat usage, and 3) role of boat in the present. Interviewing and participant observation were used to collect the data, and descriptive analysis was used to analyzed the data. The findings were as follow. In terms of boat building, in the past the knowledge of boat building was passed from generation to generation through the process of learning by doing. Then, this kind of knowledge was taught in schools. Because of few numbers of wooden boat builders and specialists, boats were then transformed to serve specific purposes. Materials and technology in boat building were changed. For the relation of boats and folk life, it was found that boats were strongly related to economy. They were used for import and export goods. Boats were also related to politics and governance. Boats were also related to belief and religion. People believed in holy spirit of boat guardian. Boats were related to folk custom and royal custom. For the role of boats, it could be stated that boats were still important to society and people’s way of life because people used boats in their daily life. People used boats for transportation. They also used boats in their occupations which was local fishery and weighty goods transportation. This meant that boats played an important role in strengthening community economy. In terms of tradition, boats were used in long-tailed boat racing and royal robe offering ceremony. In terms of tourism, boats were used in tourism-related businesses such as floating market, traveling cruise and dinner cruise. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ไทยศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|