Abstract:
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเกษตรกรในพื้นที่อําเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเกษตรกรในพื้นที่ อําเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี จํานวน 374 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ผลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุโดยกําหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 38-47 ปี มากที่สุด มีสถานภาพสมรสมากกว่าสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด และมีรายได้ ระหว่าง 10,001–20,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าเกษตรกรทราบว่า วันรัฐธรรมนูญตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82.6 รองลงมาคือ เกษตรทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ ก็ได้คิดเป็นร้อยละ 80.7 และทราบว่า ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้นน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 11.8ความโน้มเอียงทางการเมือง ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยระดับความถี่ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเกษตรกรในเขตพื้นที่อําเภอ เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรีที่ว่า ข้าพเจ้าคิดว่าการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จําเป็นต้องปฏิบัติมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.22 ข้าพเจ้าคิดว่ารัฐบาลควรเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับการทํางานของรัฐบาล อยู่ในระดับรองลงมามีค่าเฉลี่ย 4.13 และข้าพเจ้ารู้สึกว่านักการเมืองส่วนใหญ่มีความซื่อสัตย์สุจริต น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.52 การติดตามข่าวสารทางการเมือง พบว่า ระดับความถี่ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเกษตรกรในเขตพื้นที่อําเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรีภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยระดับถี่ที่ว่า ท่านรับฟังการถ่ายทอดข่าวจากโทรทัศน์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.37 ท่านรับฟังการวิเคราะห์วิจารณ์ประเด็นทางการเมืองจากโทรทัศน์ อยู่ในระดับรองลงมามีค่าเฉลี่ย 2.88 และท่านรับรู้ข่าวสารทางการเมืองจากทางอินเทอร์เน็ต เช่น ยูทูป น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 1.84 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ตัวแปรความรู้ความเข้าใจทางด้านการเมือง ความโน้มเอียงทางการเมือง และการติดตามข่าวสารทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และสมการพยากรณ์ ประกอบไปด้วย ตัวแปรความรู้ความเข้าใจทางการเมือง และการติดตามข่าวสารทางการเมืองร่วมกันอธิบายการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ร้อยละ 21.8