dc.contributor.advisor | วรรณรัตน์ ลาวัง | |
dc.contributor.advisor | สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ | |
dc.contributor.author | อชิรญาณ์ มาตเจือ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:01:46Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:01:46Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6540 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ เป็นแนวทางที่จะนําไปสู่การพัฒนาภาวะสุขภาพทุกกลุ่มคน การวิจัยนี้เป็นแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทํานายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิม กลุ่มตัวอย่าง เป็นชาวไทยมุสลิมที่อาศัยในเขตอําเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 280 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามครอบคลุมเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อิทธิพลระหว่างบุคคล และการรับรู้อิทธิพลจากสถานการณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20-70 ปี เฉลี่ย 44.67 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.8 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ไม่มีโรคประจําตัว และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพทางกายใน ระดับดีกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโภชนาการในภาพรวม พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ด้านความหลากหลายของอาหารและจํานวนมื้อ และด้านอาหารที่ ควรรับประทานอยู่ในระดับสูง ในขณะที่พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ (β = .239, p< .001) การรับรู้อิทธิพลระหว่างบุคคล (β = .226, p< .001) และการรับรู้อุปสรรคของ การปฏิบัติ(β = -.186, p< .001) เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิมได้ร้อยละ 26.8 จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรให้ความสําคัญกับการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิม ให้มากขึ้น โดยส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติพฤติกรรม ลดการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ พฤติกรรม และเพิ่มการสนับสนุนให้ครอบครัว เพื่อน ชุมชนมุสลิมร่วมให้ข้อมูลข่าวสาร ชมเชย และเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพต่อไป | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | |
dc.subject | สุขภาพและอนามัย | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลปฎิบัติชุมชน | |
dc.title | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา | |
dc.title.alternative | Fctors predicting nutritionl helth-promotion behvior of thi muslim in bngnmprio district, chchoengso province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Nutritional health-promotion behavior is a significant strategy that lead to improve health for all people.This predictive correlational research aimed to identify the factors predicting nutritional health-promotion behavior of Thai Muslims. Participants of the study were 280 Thai Muslims in Bangnampriao district, Chachoengsao province who were recruited based on multistage random sampling. Data were collected in March, 2017 using questionnaires including nutritional health-promotion behavior, perceived benefits of action, perceived barriers to action, perceived interpersonal influences, and situational influences. Data were analyzed by descriptive statistics and multiple regressions. The results revealed that the majority of sample were female with ages ranged from 20 to 70 years (M = 44.67, SD =12.34), elementary education level, and no disease. The perception of physical health was rated at a good level. The overall and three elements of nutritional health-promotion behavior, including the safety food consumption, the variety foods consumption, and the healthy food consumption, were rated at high levels. The unhealthy food avoidance was rated at moderate level. Results also indicated that perceived benefits of action (β = .239, p< .001), age (β = .233, p< .001), perceived interpersonal influences, (β = .226, p< .001) and perceived barriers to action (β = -.186, p< .001) could explain the variation of the nutritional health-promotion behavior of Thai Muslims by 26.8%. Results suggest that community nurse practitioners and other health providers should pay more attention to improving nutritional health-promotion behavior of Thai Muslims. They should promote perceived benefits of action and also reduce perceived barriers to action, encourage families, friends, and the Muslim community member to provide information, compliments and role models. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลปฎิบัติชุมชน | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |