DSpace Repository

วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor อารีรัตน์ ขำอยู่
dc.contributor.advisor ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.author บังอร สัตยวณิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:42Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:42Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6522
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของคุณภาพบริการและเป็นหลักการพื้นฐานของคุณภาพการดูแล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก และเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในและแผนกผู้ป่วยนอก สังกัดฝ่ายบริการการพยาบาลโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก จำนวน 102 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพรรณนา One way ANOVA และIndependent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.53, SD = .36) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการรับรู้ในระดับมาก 7 ด้าน โดยด้านการทำงานเป็นทีมในหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M = 4.15, SD = .59) และในระดับปานกลาง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความถี่ของเหตุการณ์ที่ได้รับรายงาน ด้านการทำงานเป็นทีมระหว่างหน่วยงาน ด้านกรณีเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและการส่งต่อด้านบุคลากรและด้านการสนับสนุนด้านการจัดการของโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (M = 3.47, SD = 1.04; M = 3.37, SD = .75; M = 3.37, SD = .82; M = 3.15, SD = .79; M = 3.10, SD = .73 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย จำแนกตามอายุ ประสบการณ์การทำงาน และการได้รับการอบรมวัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงาน และการได้รับการอบรมวัฒนธรรมความปลอดภัย ต่างกันมีการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยแตกต่าง กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (F2, 99 =2.49,p= .08; F2,99=2.67, p= .07; t 100=.66, p= .14 ตามลำดับ) จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารควรส่งเสริมด้านการจัดการของโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและการจัดอัตรากำลังที่เหมาะสมระหว่างจำนวนบุคลากรกับปริมาณงาน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
dc.subject ความปลอดภัยของผู้ป่วย
dc.subject การพยาบาลผู้ป่วย
dc.title วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออก
dc.title.alternative Ptient sfety culture s perceived by professionl nurses t university hospitl in Estern Region
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Patient safety is an important indicator of service quality and serves as a basic principle of care quality. The purposesof this research were to study the patient safety culture as perceived by professional nurses in a university hospital at the Eastern region of Thailand and to compare the differences in perception of patient safety culture. The sample of 102 professional nurses working in inpatient and outpatient sections of nursing service division were recruited. The research instruments consisted of personal data questionnaire and culture safety questionnaire. Descriptive statistic, one-way ANOVA and Independent t-test were employed for data analyses. The results showed that the overall mean score of patient safety culture was at a high level (M = 3.53, SD = 0.36). There were 7 aspects of patient safety culture which were classified in a high level in which teamwork was at highest (M = 4.15, SD = .59). There were 5 aspects were at a moderate level including frequency of reported events, teamwork across hospital units, hospital handoffs and transitions, staffing, and hospital management in supporting for patient safety (M = 3.47, SD = 1.04; M = 3.37, SD = .75; M = 3.15, SD = .79, and M = 3.10, SD = .73 respectively). There was no significant difference in safety culture perception of professional nurses as classified by age, experience, and the safety culture training. (F2, 99 =2.49, p= .08; F2,99=2.67, p= .07; and t 100=.66, p= .14, respectively). The results suggest that the administrators should promote management for patient safety culture in hospitals and proper management of number of staffs and workload issues in order to improve safety for the patients.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการพยาบาล
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account